วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จากการติดตามการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในจุดเสี่ยงที่ได้ดำเนินการแก้ไขเสร็จเรียบร้อย จำนวน 22 จุด ในพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัดนนทบุรี  ระหว่างเดือนมกราคม 2562 ถึงเดือนกันยายน 2562 โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนในจุดเสี่ยงที่ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว  จำนวน 185 คน ผลการรวบรวมข้อมูล เป็นดังนี้

 

 

ตารางสถิติพรรณาแสดงการรับรู้ของผู้ประสบอุบัติเหตุในจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว

1.ความคุ้นเคยกับจุดเสี่ยง

ความคุ้นเคย

Frequency

Percent

Valid percent

Cumulative percent

Valid                              เคยผ่านเป็นประจำ

145

78.4

78.4

78.4

ไม่เคยผ่าน/นานๆ ผ่าน

44

21.6

21.6

100

Total

185

100

100


2.การรับรู้ก่อนเกิดอุบัติเหตุในบริเวณจุดเสี่ยง

การรับรู้ประเด็นต่างๆ

Frequency

Percent

Valid percent

Cumulative percent

Valid             ไม่รับรู้ถึงการเตือน

153

82.5

82.5

82.5

รับรู้ถึงการเตือน

– เครื่องหมายบนพื้นทาง

10

5.5

5.5

88.0

–  ป้ายจราจรข้างทาง

22

12.0

12

100

Total

100

Total

185

100


จากผลการศึกษา สรุปได้ว่า

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขจุดเสี่ยงอุบัติเหตุไม่อาจสื่อสารกับผู้ขับขี่เมื่อผ่านจุดเสี่ยง ทั้งที่ได้มีการแก้ไขแล้ว ทั้งนี้ เนื่องมาจากการ วิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นการขายผ้าเอาหน้ารอดกับการเสนอว่าจะต้องเสนอแผนงานโครงการปรับปรุงสายทาง  เมื่อผ่านการออกแบบก่อสร้างจนแล้วเสร็จตามข้อเสนอ  เส้นทางหรือบริเวณจุดนั้น ก็ไม่อาจสื่อสารกับผู้ขับขี่เหมือนเดิม เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกเพราะข้าราชการมีน้อย มีแต่ข้ารัฐการมีเป็นจำนวน  เถียงคอเป็นเอ็นว่าถนนได้มาตรฐานการก่อสร้างของหน่วยงานหลายร้อยล้านเปอร์เซ็นต์  ทั้งที่จะต้องมีการเพิ่มการเตือนด้วยป้ายจราจร  เครื่องหมายบนพื้นทางให้มากกว่ามาตรฐานการก่อสร้าง

—————————555555555—————————————-