วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นในสังคมผู้ใช้รถใช้ถนน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน อันจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่

1.แรงกระตุ้น (Trigger)

การสร้างแรงกระตุ้นเป็นจุดเริ่มของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสังคมผู้ใช้รถใช้ถนน  ดังเช่นที่ญี่ปุ่นก็เกิดแรงกรุ้นจนนำสู่จุดมุ่งหมายเราจะไม่ยอมทนกับสภาพเช่นนี้อีกต่อไป อันเป็นการนำแรงกระตุ้นจากภายนอกมากระตุ้นแรงกระตุ้นภายในตน ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างแรงกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพ จะต้องประกอบไปด้วยการกระตุ้นจากภายนอกและและการกระตุ้นจากภายใน ประกอบกันก็จะเกิดพลังการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ

2. การกระทำ (Action)

เนียร์ได้อธิบายทฤษฎีการสร้างพฤติกรรมด้วยสมการ B=M*A*T  โดยที่ ( B= พฤติกรรม  M=แรงจูงใจ   A=ความสามารถ  T=แรงกระตุ้น)

พฤติกรรมจะอิงตามแรงจูงใจและความสามารถที่จะทำได้ กล่าวคือ ถ้าแรงจูงใจสูงก็จะสามารถยินยอมทำสิ่งที่ยุ่งยากได้ ในขณะที่แรงจูงใจต่ำนั้น ก็ต้องเป็นการกระทำที่ง่ายและสะดวก

3. รางวัลตอบแทนที่ไม่จำเจ (Variable Reward)

รางวัลตอบแทน จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่จะสร้างความปลอดภัย ดังนี้

3.1 The tribe มนุษย์ต้องการมีตัวตนในสังคม การได้รับรางวัลที่เป็นตัวแทนของการมีตัวตนหรือการยอมรับในสังคม จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

3.2 The Hunt การได้รับข่าว ไอเดีย หรือทรัพยากรข้อมูลที่จำเป็นในการใช้รถใช้ถนน

3.3 The Self  มีการอัพเกรดในด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รางวัลกับการการลงมือลงแรงเป็นเวลานาน  เช่นให้สิทธิพิเศษด้านต่างๆ

4. การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสร้างความพึงพอใจให้ตนเอง

จะช่วยให้เกิดการผูกติดกับพฤติกรรมที่ดีตลอดไป พยายามรักษาสถานะของตนไว้ไม่ให้ตกลง  และสร้างแนวร่วมให้เกิดตามมาง่ายขึ้น

 

———————-77777777777777777777—————————–