ด้วยความมุ่งหวังที่จะได้ความชอบธรรมในการปกครองต่อไป สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้เป็นอย่างดี
จึงเร่งเครื่องเหล่าข้าราชการเลื่อยๆทั้งมวล ซึ่งมีพื้นฐานอันแตกต่างกับประชาชน มีทัศนคติคับแคบที่สุดในเหล่าประเทศ
ที่อ้างว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
มุมมอง/วิสัยทัศน์ที่เห็นปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่แปลกแยกจากมืออาชีพ กล่าวคือ
1.ไม่ได้มุ่งเน้นป้องกันก่อนเกิดเหตุ เช่น พวกเมาแล้วขับ พวกขับรถเร็ว พอเกิดอุบัติเหตุกับพวกนี้
กับแสดงความฟุ่มเฟือยเวลา งบประมาณไปกับ
1)การสร้างศักยภาพให้คนภาครัฐ/เอกชน/มูลนิธิ (แค่ควบคุมตรวจสอบคนเมา คนขับเร็ว ให้ได้ผลก่อนก็จะบรรลุผล)
แม้กระทั่งงบประมาณของ สสส.เองก็สูญเสียกับเรื่องนี้พอสมควร
2)เก็บข้อมูลมารวมเป็นกองขยะ ไม่ถูกนำมาประมวลวิเคราะห์ในการกำหนดแนวทางการทำงาน
(ในที่นี้หมายถึง นำมาใช้อย่างตื้นเขิน) ข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถนำมาสร้างความตระหนักสร้างจิตสำนึก
ความปลอดภัยให้แก่ประชาชนอย่างได้ผล ข้อมูลเหล่านั้น ขาดการรับรู้เหตุการณ์จริงของอุบัติเหตุ
ซึ่งจะสามารถปรับพฤติกรรมได้ร้อยละ 50 ซึ่งปัจจุบันประชาสัมพันธ์ให้ทราบข้อมูลมีคนตายคนเจ็บเท่าไหร่
มีสาเหตุมาจากอะไร เกิดที่ไหน สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร(ขับรถจริงแทบจะวิเคราะห์ไม่ได้สภาพแวดล้อมแบบนี้
จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่)
3) อนุมานเอาข้อเท็จจริงที่พบจากคนที่เมา ขับเร็วประสบอุบัติเหตุว่าไม่คาดเข็มขัด ไม่สวมหมวกนิรภัย
ไม่มีใบขับขี่ นั่งท้ายกระบะ มากำหนดนโยบายอย่างฟุ่มเฟือยสร้างผลกระทบ/ไม่เข้ากับสภาพสังคม
ซึ่งไม่มีใครอยากนั่งท้ายกระบะ และซื้อรถก็ไม่ได้มีวัตถุประสงค์มุ่งจะให้คนนั่ง
2.มุ่งที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายหลังการเกิดอุบัติเหตุ จึงต้องเร่งให้ประชาชนสวมหมวก ต้องคาดเข็มขัด
ในแต่ละวัน หรือในแต่ละช่วงเทศกาลก็มีผลการจับปรับการไม่สวมหมวกนิรภัย การไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเป็นจำนวนมาก
แต่ไร้น้ำยาในการป้องกันพวกที่เกิดอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับขี่ จากการขับเร็ว ผลการกวดขันจับกุมน้อยมาก
ส่งผลกระทบให้คนที่ไม่ขับรถเร็ว ไม่เคยดื่มสุราต้องมาเดือดร้อนไปด้วย ต้องโดนจับปรับไม่มีใบอนุญาตขับขี่
พรบ.ขาดอายุ ใช้รถผิดประเภท(ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอที่ไม่สามารถมีปากมีเสียงกับภาครัฐเสียด้วย)