วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต้องอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรม (การประพฤติที่ดีตามคุณธรรม จริยธรรม) ซึ่งสมัยโบราณของไทยจวบจนปัจจุบัน ได้พรำ่สอนศีลธรรมในลักษณะให้เป็นพลเมืองที่ดีในการปกครองแบบเจ้าขุนมูลนาย

อันทำให้ประชาธิปไตยไม่เบ่งบานในสังคมไทยตลอดมา  ทั้งที่ระบบการศึกษาควรที่จะพรำ่สอนศึลธรรมที่เป็นการประพฤติที่ดีตามหลักสิทธิมนุษยชน ที่ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียม มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เสมอกัน เป็นความดีสาธารณะที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของทุกคนเสมอกัน ศีลธรรมอันดีส่วนุคคล ควรให้สถาบันศาสนาเป็นผู้รับผิดชอบ เมาเหล้าอยู่บ้าน อยู่ในที่พัก โดยไม่เอะอะ ขับรถไปสร้างความเดือดร้อนให้กับใคร ก็จะผิดศีลธรรมแบบศาสนา ไม่เกี่ยวกับศีลธรรมแบบความดีสาธารณะ

ตัวอย่างที่เป็นความผิดทั้งความดีแบบศาสนาและแบบความดีสาธารณะ คือ

ในห้วงปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๖ เป็นช่วงที่อิทธิพลแนวคิดได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่พี่น้องประชาชนอย่างแสนสาหัส (เดือดร้อน) จากการล่วงละเมิด

แอบอ้างเอาประชาชนมาเป็นข้ออ้างว่าเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ ทุจริตประพฤติมิชอบ แบบมีเจตนาร้ายแรง (แต่พวกรัฐที่สอบสวนความผิดก็ปล่อยให้

มีลักษณะที่ไม่ร้ายแรง จนมีโทษแค่ตักเตือน) ไม่มีลักษณะที่เข้าข่ายประมาทเลินล่อ หรือหย่อนยานในการตรวจสอบแต่อย่างใด

เป่าล้างบ่อบาดาล ซ่อมแซมถนนลูกรังทางระหว่างหมู่บ้าน ยาปราบศัตรูพืช หลายหมื่นล้านบาทที่มีการสมคบคิดกันเบิกจ่ายงบประมาณโดยมิได้ดำเนินการใดๆ

ดังนั้น การออกมาต่อต้าน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รัฐไม่ควรที่จะกล่าวว่าพวกต่อต้านเป็นพวกไม่รู้จักศีลธรรม ฝ่ายรัฐนั่นเองที่ไม่มีศีลธรรมแบบความดีสาธารณะ

 

——————————————————————-