วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะ ทางจิตใจของบุคคลเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่า หรือการให้คุณค่าแก่การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งสาธารณะ ที่ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นเจ้าของ หรือเป็นสิ่งที่คนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่แสดงออกมา

ทุกหน้าที่การงาน นอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ตามปกติแล้ว ยังสามารถที่จะเพิ่มเติมคือจะต้องมีจิตสาธารณะด้วย มีจิตใจใฝ่บริการ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแต่ฝ่ายเดี่ยว ให้มองเพื่อนร่วมงานตลอดจนประชาชนว่าต้องการความช่วยเหลือหรือไม่

สำหรับงานด้านภัยพิบัติ จำเป็นต้องมีจิตสาธารณะ ดังนี้

1. คิดในทางบวก (Positive thinking) คือ คิดในทางที่ดีต่อคนอื่น คนที่คิดบวกมีโอกาสประสบความสาเร็จมากกว่าคนคิดลบ

2. มีส่วนร่วม (Participation)คือ 1) การมีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 2) การอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน เกื้อกูล เป็นธรรมชาติ

3. ทำตัวเป็นประโยชน์ (Useful) คือ 1) เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสาธารณะต่อสังคม 2) ไม่นิ่งดูดาย อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแม้เพียงเล็กน้อยก็จะทา (อะไรที่ดีงามก็ให้ลงมือทันที แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม)

4. ไม่เห็นแก่ตัว (Unselfish) คือ การฝึกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน แบ่งปันทรัพยากรให้กัน การฝึกที่จะให้ทาน ประกอบด้วย วัตถุทานและธรรมทาน (หัวใจที่มีแต่จะให้ เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก) 1) ไม่เห็นแก่ตัว (เห็นแก่ส่วนรวม) 2) ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 3) ไม่คอรัปชั่น 4) ไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ให้ผู้อื่นเอาเปรียบเช่นกัน 5) เคารพสิทธิเสรีภาพผู้อื่น

5. มีใจกว้าง (Broad Mind) คือ

1) มีจิตที่กว้างใหญ่ เปิดกว้าง ไม่คับแคบ

2) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3) รับฟังข้อมูล ข่าวสารใหม่ๆ ที่แตกต่างจากคนที่เคยรู้เคยมีมา

4) แสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ

6. ตามสมัย(In trend) คือ

1) เข้าใจและไม่ตามกระแสโดยปราศจากเหตุผล

2) ช่วยเตือนสติให้กับสังคม (ถ้าสังคมคิด-ทำ อะไรที่ไม่ถูกต้องต้องออกมาวิพากษ์วิจารณ์เตือนสติและชี้แนะเสนอทางออก)

7. มีการสื่อสารที่ดี (Communication)คือ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สามารถทางานกับผู้อื่นได้ทุกสถานการณ์

—————————————–