กระบวนการปฏิจจสมุปบาท มีที่มาจากทุกสิ่งเกิดจากเหตุ เหตุนั้น หมายถึง ปัจจยาการที่ทำให้เกิดการหนุนเนื่องกันเป็นทอดๆ และสรรพสิ่งทั้งหลายไม่อาจอยู่โดดๆ ได้ หรือไม่อาจอยู่โดยตัวของมันเองได้ กระแสของเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ผลักดันกันเป็นทอดๆ นั้น สถานการณ์บนท้องถนนก็ดำเนินไปตามกระบวนปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวข้างต้น ซึ่งกระบวนการทั้งสิ้นมีอยู่ 12 ขั้นตอน ดังนี้
จากการศึกษาจากผู้ใช้รถใช้ถนน จำนวน 550 คน มีผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการจำเป็นตามหลักปฏิจจสมุปบาทเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน มีรายละเอียด ดังตารางต่อไปนี้
หลักปฏิจจสมุปบาทรายด้านเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน |
ดัชนีความต้องการจำเป็น PNI modified |
ลำดับความจำเป็น |
1.อวิชชา |
0.47
|
3
|
2.สังขาร |
0.46
|
4
|
3.วิญญาณ |
0.48
|
2
|
4.นาม-รูป |
0.36
|
9
|
5.สฬายตนะ |
0.49
|
1 |
6.ผัสสะ |
0.39
|
8
|
7.เวทนา |
0.45
|
5
|
8.ตัณหา หรือฉันทะ |
0.42
|
6
|
9.อุปาทาน |
0.31
|
11
|
10.ภพ |
0.34
|
10
|
11.ชาติ |
0.41
|
7 |
12.ชรา-มรณะ |
0.29
|
12 |
จากผลการศึกษา จะเห็นว่าพฤติกรรมความปลอดภัยบนท้องถนนมีกระแสที่จำเป็นที่ทุกคนบนท้องถนนจะต้องสถาปนาให้เกิดเป็นพฤติกรรมขึ้นเพื่อความปลอดภัย เรียงลำดับตามความสำคัญ ดังนี้
ลำดับที่ 1. สฬายตนะ
เป็นการสำรวมช่องทางรับรู้ (วิญญาณ) ของตนเอง เพื่อให้ส่งผลดีต่อพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่จะเกิดขึ้น
ลำดับที่ 2 วิญญาณ
รักษาวิญญาณ(การรับรู้)อย่างมีสติตลอดเวลาที่อยู่บนท้องถนน ไม่ขาดสติรับรู้ หรือปล่อยให้วิญญาณล่องลอย
ลำดับที่ 3 อวิชชา
เป็นการกำหนด (ศึกษา) รู้แจ้งรู้ครบในเรื่องความปลอดภัยทางถนน
ลำดับที่ 4 สังขาร
เป็นความพยายามเปลี่ยนหรือกำหนดจิตที่ขาดเจตนา ไม่มีเจตนา ไร้เป้าหมาย เลื่อนลอย ให้เป็นจิตมีเจตนาเป็นตัวนำแต่งให้ดีงานมให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บนท้องถนน
ลำดับที่ 5 เวทนา
ต้องพัฒนาการรับรู้ว่าอะไรถูกอะไรถูกเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
ลำดับที่ 6 ตัณหา หรือฉันทะ
ต้องพยายามดับความพอใจไม่พอใจเมื่ออยู่บนท้งถนน
ลำดับที่ 7 ชาติ
ต้องช่วยกันกำเหนิดสถาปนาเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อให้แพร่หลายอย่างกว้างโดยเริ่มต้นจากตนเองเป็นเบื้องต้น
ลำดับที่ 8 ผัสสะ
เมื่อมีลักษณะกำเหนิดตามลำดับที่เจ็ดนั้น ต้องปฏิสัมพันธ์ต่อกันบนท้องถนนถูกต้องตามกฎหมายจราจรและความเอื้อเฟื้อมีนำ้ใจต่อกัน
ลำดับที่ 9 นาม-รูป
เป็นการสำรวมพฤติกรรมต่างๆ บนท้องถนน ให้เป็นไปเพื่อความปลอดภัย ต้องรู้ว่าควรแสดงพฤติกรรมอย่างไรในเรื่องความปลอดภัยทางถนน
ลำดับที่ 10 ภพ
พิจารณาทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิด อย่างสมำ่เสมอหรืออย่างต่อเนื่องเมื่ออยู่บนท้องถนน
ลำดับที่ 11 อุปาทาน
ลดละความยึดมั่นถือมั่นในชนชั้นวรรณะ ความถือตัว หันมามองเพื่อนมนุษย์เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บและตาย
ลำดับที่ 12 ชรา-มรณะ
รักษาขั้น 1-11 ให้คงทนตลอดช่วงให้ต่อเนื่องที่อยู่บนท้องถนน (ชรา) และลดความเศร้าโศก ความรำพึงรำพันเมื่อไม่ได้เป็นดั่งที่คาดหว้ง (มรณะ)
—————————————–5555—————————————————–