วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในราวปี 2546 ประเทศไทยได้ตระหนักถึงปัญหาอุบัติเหตุทางถนนว่ามีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลเสียต่อการพัฒนาประเทศอย่างมหาศาล จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนขึ้นมาอำนวยการการปฏิบัติให้สามารถลดปัญหาลงให้ได้มากที่สุด แต่สิบกว่าปีผลการดำเนินการสามารถลดความรุนแรงของปัญหาลงได้เล็กน้อย เหตุผล 2 ประการที่ส่งผลให้การดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนล้มหลว คือ

ประการแรก การมุ่งหาลักษณะเฉพาะของปัจเจกบุคคลที่เป็นรูปธรรม จึงทำให้การดำเนินการล้มเหลว

แทนที่จะมุ่งไปทำความเข้าใจธรรมชาติของประชาชนทั้งหมดหรือระบบสังคม โครงสร้างอำนาจที่กำกับบนท้องถนน อันเป็นลักษณะเชิงนามธรรมที่ปรากฏบนท้องถนน  การกระทำดังที่กล่าวข้างต้นทำให้ขาดการสนับสนุนจากโครงสร้างสังคมทั้งหลายที่กำกับอยู่ รวมทั้ง ไม่สนับสนุนผู้ที่มีพฤติกรรมที่มีความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างสมำ่เสมอโดยที่การสืบสวนอุบัติเหตุทางถนนเป็นเครื่องมือในการค้นหานามธรรมของเหตุการณ์ ไม่ได้มุ่งเน้นรูปธรรมของปัจเจกบุคคล  มัวแต่มืดมนก้บการมุ่งหาลักษณะเฉพาะของปัจเจกบุคคลที่เป็นรูปธรรม สร้างอาณาจักรของข้อมูลที่ไม่พัฒนาไปสู่ Big data

ประการที่สอง การดำเนินการที่ผ่านมาไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้อำนาจ จึงทำให้การดำเนินการล้มเหลว

สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในอดีต อาจป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้อำนาจอธิปัตย์ (Sovereign power) (รัฐผูกขาดการใช้อำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติและควบคุมตรวจสอบผู้ที่อยู่บนท้องถนน  มีความผิดอย่างไรได้รับการลงโทษอย่างไรเมื่อมีการฝ่าฝืน)

แต่เนื่องจากปริมาณของถนนมากขึ้น ชอบเขตของปัญหาจึงมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การใช้อำนาจอธิปัตย์ในการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาจึงมีข้อจำกัด  ยกเว้นจะมีการตรวจสอบครอบคลุมทั้งพื้นที่ถนนและผู้ที่อยู่บนท้องถนนผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  (CCTV และ GPS ในโทรศัพท์หรือรถยนต์)  อุปกรณ์และเครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ ถ้ายังให้เจ้าหน้าที่มาใช้งานโดยตรง จะไร้ผลอย่างสิ้นเชิง  สิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปัตย์ ไม่สามารถที่จะนำมาซึ่งความปลอดภัยบนท้องถนน จะต้องมีการพัฒนาการใช้อำนาจวินัย (Deciplinary power) ซึ่งอำนาจนี้จะต้องปลูกฝังให้มีอยู่ในทุกคน สถาบันต่างๆ ไม่เฉพาะเฉพาะสถาบันการศึกษาอย่างเดียวที่จะต้องปลูกฝังวินัยให้เกิดขึ้นในปัจเจกบุคคล หน่วยงานภาครัฐก็กำหนดวินัยขึ้นควบคุมบุคลากรของหน่วยงานได้  องค์กรธุรกิจก็สามารถกำหนดวินัยขึ้นควบคุมพนักงานของตนเองได้ รวมทั้งเงื่อนไขกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ก็สามารถกำหนดให้มีการรักษาวินัยบนท้องถนนได้

ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง  ในอนาคตท้องถนนต้องมียานยนต์ที่ไร้คนขับ และมีการจราจรทั้งบนถนนและบนอากาศ จำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้มีการใช้ชีวอำนาจ (Biopower) ในการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาการเดินทางอย่างปลอดภัย

—————————–4444—————————