วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สิทธิในสิ่งแวดล้อม (สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ และสิ่งแวดล้อมที่ดีในเชิงนิเวศและความมั่งคงในทางสภาพเชิงนิเวศ) ต้องได้รับการเคารพและปกป้องคุ้มครอง ตั้งแต่ปัจเจกบุคคล ชุมชน องค์กร สถาบัน จนถึงชาติ และสิทธิที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่บุคคลทุกคนพึงมีและได้รับ โดยสิทธินี้แบ่งแยกไม่ได้และติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิด  ซึ่งการการสถาปนาสิทธิในสิ่งแวดล้อม  เราจะต้องสถาปนาให้มีขึ้น ใน 2 รูปแบบ คือ

1.รูปแบบที่เป็นเนื้อหา

สถาปนาขึ้นในหลากหลายระดับ ตั้งแต่ธรรมนูญชุมชนหมู่บ้าน  ระเบียบเฉพาะของสถานที่  ระเบียบกฎหมายที่ทางราชการประกาศใช้ เพื่อที่จะคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ รักษา หรือการพัฒนาใด ไม่ให้เกิดผลกระทบไม่ให้เกิดหายนะต่อมนุษย์และอาศัยอยู่อย่างสมดุลกลมกลืนกับธรรมชาติ ทั้งนี้ในระดับชาติจะเป็นเป็นการกำหนดหน้าที่แก่รัฐในการที่จะต้องคุ้มครองประชาชนให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และต้องมีการเยียวยาให้แก่ ประชาชนเพื่อความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการที่รัฐละเลยหน้าที่ดังกล่าวนั้น โดยเป็นการคุ้มครองประชาชนทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน (Individual) และในลักษณะที่เป็นกลุ่ม (Collective) อาทิเช่น

1.1 ในระดับธรรมนูญ ระเบียบข้อกำหนดเฉพาะ

อาทิเช่น  ธรรมนูญหมู่บ้านโคกเพ็ก หมู่ที่ 12 ตำบล ชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ธรรมนูญ 9 ดี  คือ เป็นคนดี มีปัญญา รายได้สมดุล สุขภาพแข็งแรง สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ สังคมอบอุ่น หลุดพ้นอาชญากรรม จัดตั้งกองทุนพึ่งพาตนเอง สร้างความเข้มแข็งคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.)ชุมชน โดยเฉพาะดีที่ 9 สร้างความเข้มแข็งคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.)/ชุมชน ที่เป็นกลไกหลักในระดับปฏิบัติในพื้นที่ ที่จะต้องขับเคลื่อนปัจจัยความสำเร็จ ทุกด้าน อาศัยอำนาจ มาตรา 28 ตรี แห่ง พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช ๒๔๕๗ ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นกรรมการหมู่บ้าน การปฏิบัติหน้าที่และการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน พุทธศักราช 2551 คณะกรรมการหมู่บ้านโคกเพ็ก หมู่ที่ 12 ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ออกธรรมนูญหมู่บ้าน เพื่อบังคับใช้ภายในหมู่บ้าน

1.2 ในระดับกฎหมาย

กฎหมายสิ่งแวดล้อม ด้านต่างๆ มากมาย ตามลิงค์ที่แสดง https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/460735,https://enlawfoundation.org/newweb/?page_id=1105 , http://www.mkh.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=84&Itemid=362&lang=en

1.3  ในระดับตราสาร Soft Law ที่วางหลักการสากลกว้างๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

อาทิเช่น ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (1992 Rio Declaration on the Environment and Development) ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ปฏิญญาสตอกโฮล์ม

2.รูปแบบที่เป็นขั้นตอน กระบวนการหรือวิธีปฏิบัติ

ใช้ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนไปสู่การคุ้มครองสิทธิในรูปแบบที่เป็นเนื้อหา เช่น เช่น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Right to Information) สิทธิในการมีส่วนร่วมตัดสินใจ (Right to Participation in Decision-Making Process) และสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Right to Access to Justice)