กลยุทธ์พื้นฐานในการปฏิบัติการกู้ภัย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สั่งการ(Incident Commander) ใช้จัดระบบปฏิบัติงาน ณ ที่เกิดเหตุให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
การเลือกกลยุทธ์ใด ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ แนวทางการกำหนดกลยุทธ์จะต้องอิงระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งโดยปกติกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกู้ภัย มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การลดความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม หรือ ทำให้ภัยที่เกิดขึ้นไม่ให้มีผลกระทบร้ายแรง โดยหลักเกณฑ์การเลือกกลยุทธ์ มีลำดับ ดังนี้
1. .ถือเป็นหลักว่าการช่วยเหลือชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มาก่อนการเลือกการลดความสูญเสียในทรัพย์สิน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. การควบคุมความเสียหายที่กำลังเกิดขึ้นจากอุบัติภัยขณะนั้น ให้อยู่ในระดับที่กำหนดทั้งส่วนที่เกิดความเสียหายและส่วนที่ยังไม่เกิดอันตราย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติ 2 แนวทาง คือ
1) การกำจัดต้นเหตุของการเกิดเหตุโดยตรง เช่น เพลิงไหม้ หรือน้ำท่วม
2) กำจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นให้อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดหรือระงับอุบัติภัยเป็นการชั่วคราวในขณะที่จุดประสงค์ของการกู้ภัยอื่นๆ ยังคงไดรับการปฏิบัติอยู่ ซึ่งวิธีการทั้งสอง สามารถกระทำพร้อมกันหรือทำตามลำดับต่อเนื่องกันก็ได้
3. ให้ความสำคัญพื้นที่เกิดเหตุ เมื่อได้ปฏืบัติงานเสร็จสิ้น ต้องมีการกำจัดซากสิ่งของหรือการปนเปื้อน
———————————5555——————————–