การสถาปนาอำนาจของผู้ประสบภัยพิบัติ
นับวันประชาชนจะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ผลกระทบนั้นได้เพิ่มความรุนแรงขึ้น ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว นอกจากหน่วยงานภาครัฐจะต้องมีศักยภาพในการดำเนินการป้องกันและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแล้ว มีความจำเป็นที่จะต้องสถาปนาอำนาจของผู้ประสบภัยพิบัติขึ้น ให้ผู้ประสบภัยพิบัติหันมานิยามตัวเองใหม่
เพื่อสร้างความสมดุลกับธรรมชาติ สร้างแรงต้านทานต่อแบบแผนการพัฒนา อันจะทำให้ผู้ประสบภัยพิบัติไม่ถูกตีตราว่าอ่อนแอ พึ่งพิงคนอื่น มีชีวิตที่ไร้ราคา เป็นคนชายขอบ โดยการสถาปนาอำนาจ มีแนวทาง ดังนี้
๑. สร้างอัตลักษณ์อันเฉพาะเจาะจง ที่เป็นนวัตกรรมแห่งอัตตาของชุมชน ที่กระตือรือร้นในการต่อต้าน/ขัดขืนกับเทคโนโลยีแห่งการครอบงำ เพื่อควบคุมอัตบุคคลในชุมชนให้ดำเนินชีวิตอย่างรู้ เท่่าทัน มีพลังเหนือกว่า มีความเป็นอิสระ สามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ โดยอาศัยบทเรียนอันโหดร้ายของภัยพิบัติที่ได้ประสบพบผ่านมา
๒. ลงมือบริหารจัดการตนเองและชุมชน ให้มีวิถีการดำเนินชีวิตประสานกับกิจกรรมการกำกับดูแลอื่นๆในทุกระดับ ซึ่งมาจากสถาบันอันหลากหลายทั้งชุมชนอื่น จากภาครัฐ จากภาคเอกชน มูลนิธิ ซึ่งในปัจจุบัน ภาครัฐ ภาคเอกชนได้เข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนให้เกิดทุนชุมชนขึ้นเป็นอันมาก แต่ชุมชนไม่บริหารหารจัดการ ไม่หลอมรวมกับวิถีชีวิต ดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นด้วยความแปลกแยกจากวิถีชีวิต สร้างความเป็นอื่นกับคนในชุมชน
เมื่อได้ดำเนินการ คาดหวังได้ว่าจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายในตัวของผู้ประสบภัยอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้สามารถยืนบนขาตัวเองได้อย่างมั่นใจ หลีกเลี่ยงการพึ่งพิงผู้อื่น มองว่าตนเองเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความภาคภูมิใจ กล้าคิดกล้าทำ และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของสังคม
อุปสรรคของการสถาปนาอำนาจของผู้ประสบภัยพิบัติ
๑. สภาวะแปลกแยก เป็นความแปลกแยกจากกระบวนการ แปลกแยกจากส่วนได้ส่วนเสีย แปลกแยกจากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจนปรับตัวไม่ทัน หรือไม่รู้เท่าทันที่จะปรับตัว
๒.ระบบอุปถัมภ์ของสังคม
0000000000000000000000000000