วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

พายุตามธรรมชาติได้มีความสัมพันธ์กับมนุษย์นิดหน่อย  ทุกวันนี้ก็จะเห็นผลกระทบที่มีความเสียหายมีมูลค่าสูงขึ้น เพราะมนุษย์มีการให้ความหมายมูลค่าในพื้นที่ทางกายภาพครอบคลุมถึงร้อยละ 97  รัฐราชการที่มีหน่วยงานมากมายและกำลังพลกพลังทรัพยากรมากมายเขาทำอะไรกันอยู่  ดูจากที่เขาออกมาอบรมตามชุมชนต่างๆ ว่าพวกเขามีคุณค่าแค่ไหนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  เท่าที่จดบันทึกได้จะมีรายละเอียด ดังนี้

การเตรียมการก่อนเกิดสาธารณภัย

1.มีการวางแผนแบ่งมอบพื้นที่หรือประชุมแบ่งมอบพื้นที่ให้ส่วนราชการต่างๆ ไปดูแลป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

2.จัดระบบ หน้าที่ความรับผิดชอบและการอำนวยการสั่งการอย่างเป็นระบบ

3.วางแผนงานเพื่อใช้งบประมาณจากภาษีของประชาชน

4.ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง ประเมินความเสี่ยง และแจ้งเตือน

5.จัดเตรียมกำลังจัดเตรียมทรัพยากร

ขณะเมื่อเผชิญสาธารณภัย

1.จัดตั้งศูนย์ประสานงาน (ให้ใครเข้ามาช่วย อย่างไร ด้านไหน เท่าไหร่)

2.ประสานการทำงานอย่างเป็นระบบให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

3.อำนวยการสนับสนุนประเภทต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในพื้นที่

4.จัดตั้งหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน หรือศูนย์อพยพ

เมื่อสาธารณภัยผ่านพ้นไปแล้ว

1.สำรวจความเสียหาย และประเมินความต้องการจำเป็นการฟื้นฟูบูรณะที่ยั่งยืน

2.ฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย

3.สนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นที่ขาดแคลน

จากที่กล่าวมาข้างต้น ดูเหมือนจะีคุณค่าอย่างแท้จริงต่อมวลประชาชนที่จ่ายภาษี แต่เราคงไม่พอใจกับการบราฆ่าฟันในบ้านเราอันทำให้เราเสียหาย  เราต้องการการนำเอาเงินภาษีเราไปทำการรบนอกบ้าน  อย่าปล่อยให้พวกเขาผลาญเงินภาษีไปกับการซื้อเครื่องมืออุปกรณ์เพิ่มคนเข้ามาให้เราเลี้ยงดูเพื่อทำการรบในบ้านของเรา  ยกตัวอย่างการรบนอกบ้านที่ได้รับรู้มาว่าเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์สามารถอยู่ตำ่กว่าระดับน้ำทะเลโดยที่ไม่ท่วม  หรือหลายๆเมืองในประเทศญี่ปุ่นก็มีอุโมงค์น้ำยักษ์ที่รองรับมวลน้ำมหาศาลจนไม่เกิดน้ำท่วมมาหลายปีแล้ว

————xxxxxxxxxx————–