การสร้างสรรค์นวัตกรรมป้องกันสาธารณภัยให้เกิดขึ้น มีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 Self Awekening
เป็นการค้นหาอดีตร่วม เพื่อสร้างสำนึกร่วมในการป้องกันสาธารณภัย ด้วยการสืบค้นข้อมูลในอดีต ประวัติศาสตร์ คำบอกเล่า ความเป็นมา สถิติจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งค้นหาแกนนำ แกนที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายให้ได้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง อาจข้ามจังหวัดข้ามอำเภอ ให้ยึดถือตามกายภาพพื้นที่เป็นสำคัญ
ขั้นที่ 2 Self Leaning
สร้างกิจกรรม สร้างการเคลื่อนไหวสังคม ด้วยข้อมูลความรู้ ด้วยหลักวิชาการ ด้วยเครื่องมือ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ได้เรียนรู้ รวมทั้งสร้างความตระหนัก ความรับผิดชอบและที่สำคัญสร้างเครดิตขึ้นในสังคม อาจจัดเวทีสาธารณะ ลานสาธารณะ นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน และต้องพัฒนาไปสู่ธนาคารข้อมูลของชุมชน
ขั้นที่ 3 Self organizing
จัดตั้งคณะทำงานภายใต้ความหลากหลายของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและผู้มีจิตสาธารณะมาเป็นกลไกประสานให้เกิดการพบปะระหว่างภาคีพื้นที่อื่นๆ (ภายในกายภาพพื้นที่เสี่ยงเดียวกัน) ขับเคลื่อนกิจกรรม แผนงาน/โครงการ
ขั้นที่ 4 Self Action
กำหนดวิถีการปฏิบัติร่วมกัน ข้อเสนอ หรือทางเลือกทางออกของคนในชุมชน ที่ผ่านกระบวนการใคร่ครวญ ไตร่ตรองบนทางเลือกทางออกที่รอบด้านของผู้มีส่วนได่ส่วนเสียและคนที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งอยู่บนฐานของข้อมูล ความรู้หรือข้อเท็จจริง
——————————5555555555555555555555555—————————————–