วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตคล้ายกบกำลังถูกต้ม (อยูแบบไม่รู้ว่าตัวตัวเองอยู่ในสภาวะที่กำลังจะหายนะถึงชีวิต)  โดยมีวิถีชีวิตที่ไปเบียดขับให้มีผลกระทบให้ความเสี่ยงรอบๆ ตัว มีโอกาสที่จะสร้างหายนะรุนแรงเกิดขึ้น  ทังนี้  สามารถวิเคราะห์ความล้มเหลวหรือความอ่อนด้อยของคนไทยต่อสำนึกหายนะ ได้ดังนี้

1.มีมุมมอง ทัศนคติที่ใช้มุมมองจากข้างนอก และมองจากบนลงล่าง

ขาดการศึกษาหรือสร้างความเข้าใจความคิดและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชาวบ้าน ชนชั้นรากหญ้า หรือชนชั้นล่าง ที่จะสร้างแรงขับให้ความเสี่ยงรอบๆ ตัวรอบๆ ชุมชนเกิดหายนะเมื่อใดอย่างไร และจะสร้างวัฒนธรรมเฉพาะของตนขึ้นอย่างไร  ปัจจุบัน แม้จะมีแนวคิดการดำเนินการให้ชุมชนเป็นฐานในการดำเนินการจัดการความเสี่ยงแต่กิจกรรมส่วนใหญ่ก็เป็นการให้ความรู้ภายนอกชุมชน การจัดรูปแบบนาฏยชุมชน (รูปแบบการแสดงออกของคนในชุมชน) แต่ขาดการศึกษาความเสี่ยงรอบๆ ชุมชนอย่างถ่องแท้

2.ความคาดหวังต่อนาฏยรัฐที่ล้มเหลว (ท่าที/การกระทำ/กระบวนการ/ทัศนคติ/มุมุมอง/ ฯลฯ ของภาครัฐที่มีต่อพื้นที่หรือประชาชนพลเมือง)

ที่ประชาชนไม่รู้ว่าคาดหวังอะไรแทบไม่ได้จากนาฏยรัฐ เป็นเพียงแค่ทำพอเสร็จๆ ตามกระบวนการจากบนลงล่าง ไร้การติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิผลอย่างจริงจัง

3.การรับรู้ที่ถูกตัดตอนจากระบบอุปถัมภ์

ทำให้ขาดการสืบค้นหรือปฏิบัติการต่อในสิ่งที่เป็นความเสี่ยง ขุดไปทางไหนก็เจอตอ มีการซุกความเสี่ยงไว้มากมายภายใต้ระบบอุปถัมภ์ที่เข้มแข็ง

4.ไม่แยแสต่อการทำความเข้าใจความเสี่ยง

ไม่นำเอามิติเชิงคุณค่าวัฒนธรรมประเพณีที่มีอยู่เข้ามาประมวลร่วมกับกระบวนการและปฏิบัติการทางสังคมรูปแบบต่างๆ อันจะทำให้ปฏิบัติการทางสังคมเหล่านั้นมีศักยภาพในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ  ไม่ใช่ในปัจจุบันที่ปฏิบัติการทางสังคมมีแต่สร้างแรงขับให้ความเสี่ยงแสดงผลให้เกิดหายนะ

——————–฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿——————-