จากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นว่าเมืองไทยกับอเมริกา มันกลับหัวกลับหางในทัศนคติพื้นฐานของสังคม
เขาขับเคลื่อนไปสู่ความศิวิไลซ์ได้ก็ด้วยการพิจารณา รอคอยเวลาที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอย่างมีกติกาที่สมเหตุสมผล
นอกเมืองไทย (ที่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมปัญหา) มีทัศนคติจากภัยพิบัติจากอุบัติเหตุทางถนน ดังนี้
1.ภัยพิบัติทางกายภาพจากอุบัติเหตุทางถนน มีพลวัตทางสังคมน้อย เนื่องจากมีมาตรฐาน มีรูปแบบที่สมเหตุสมผล
2.ภัยพิบัติทางจิตวิญาณจากอุบัติเหตุทางถนน มีพลวัตทางสังคมสูงยิ่ง ยอมรับไม่ได้ต้องลุกขึ้นมาจัดการ เปลี่ยนแปลง
ไม่ยอมให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่เกิดขึ้นอีก ไม่ต้องการพบต้องการเห็นในสังคมของตนเอง
ในเมืองไทย มีทัศนคติจากภัยพิบัติจากอุบัติเหตุทางถนน ดังนี้
1.ภัยพิบัติทางกายภาพจากอุบัติเหตุทางถนน มีพลวัตทางสังคมสูงยิ่ง ทุ่มเททรัพยากรในการแก้ไขปัญหาสูง
(ทั้งงบประมาณ ทรัพยากร โครงการ/กิจกรรม) แต่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมคือข้อมูลขยะ นวัตกรรมขยะ
นโยบายสาธารณะหรูหราแต่คุณค่าต่อสังคมคือพิธีกรรมของภาครัฐ
2.ภัยพิบัติทางจิตวิญาณจากอุบัติเหตุทางถนน มีพลวัตทางสังคมอ่อนแอ ยอมรับได้ ไม่มีปัญหา ไม่ใช่หน้าที่ ไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง