วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

มีการถกเถียงของผู้ที่ดื่มสุราแล้วขับขี่ว่า  ตัวเองสามารถดื่มได้เกินกว่าที่มีข้อมูลรณรงค์ของภาครัฐ  ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผิด  เพราะเท่าที่มีการศึกษาเรื่องนี้เขาศึกษาจากคนที่ดื่มแล้วเกิดอุบัติเหตุ    ส่วนใหญ่ไม่ได้เอาคนที่ไม่ดื่มมาทดลองวิจัย ดังเช่นการศึกษาวิจัยของคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ยืนยันระดับความเสี่ยงจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถว่ามีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้

 

1.ระดับแอลกอฮอล์ 20 – 40 มก.เปอร์เซ็นต์ (ประเมินไม่เกิน 1 ชม. หลังดื่มเบียร์ 1 ขวด) จะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากกวาคนท ี่ไม่ได้ดื่ม 3 – 5 เท่า

2.เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มเป็น 6 – 7 เท่าที่ ระดับ 50 – 70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

3.เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 29 – 240 เท่าที่ระดับ 100 – 140 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

4.เสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็นสูงกว่า 300 เท่าที่ระดับเกิน 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทําลายสมรรถภาพการขับรถทุกด้าน

1.ทําให้การมองเห็นแคบลง มัวลง เห็นภาพซ้อน ในสภาพเช่นน ี้ผู้ขับขี่จึงรับรู้ต่อความเคลื่อนไหวรอบตัวได้น้อยลง

2.ทําให้การสั่งการของสมองไปยังกล้ามเนื้อช้าลง เมื่อคับขันจึงอาจแตะเบรกได้ช้ากว่าปกติ และหักรถหลบหลีกได้ช้ากว่าปกติ

3.ทําให้ลําพองใจ

 

 

————————ภภภ———————————