วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ถึงแม้ความเป็นจริง ภัยพิบัติจะเกิดจากการขาดความตระหนักของมวลชนและไร้ความรู้ความเข้าใจความเป็นมืออาชีพของหน่วยงานภาครัฐที่จะนำเสนอแนวทางที่ยั่งยืนต่อสังคม  ซ้ำร้ายไปกว่าเมื่อขาดความตระหนักขาดและขาดความเป็นมืออาชีพแล้ว เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นกลับขาดศักยภาพในการบริหารจัดการของหน่วยงานและสู้ภัยพิบัติของผู้ประสบภัยพิบัติ  ดังเช่น กรณีอุทกภัยจากผลกระทบจากโพดุลในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2562

สภาพการณ์ที่เกิดขึ้น

1. หน่วยงานภาครัฐ  บริหารจัดการพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติภายใต้มโนทัศน์อาณานิคม

2. ผู้ประสบภัยพิบัติขาดสำนึกความเป็นพลเมือง ประพฤติเฉกเช่นเป็นชนกลุ่มน้อยในพื้นที่

ต้นสายปลายเหตุสภาพการณ์ทั้ง 2 ประการ มองในมุมการเมืองการปกครอง จะพบว่า

1. หน่วยงานภาครัฐ

ถ่ายทอดแนวคิดหรือตอบสนองต่อการนโยบายระดับสูงที่ปัจจุบันสังคมไทยตกอยู่ภายใต่อำนาจของการรัฐประหารซ้อนๆ แบบอัตโนมัติ (ยึดอำนาจจากประชาชนในครั้งแรกแล้ว ก็แต่งตั้งกลุ่มคนมาแย่งยึดสกัดอำนาจประชาชน) ทำให้มีมุมมองการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถอ้างความชอบธรรมของรัฐราชการมากกว่าสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน มีแนวนโยบายคล้ายเป็นเขตผลประโยชน์ของหน่วยงาน โดยผ่านความสมเหตุสมผลทางกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานภาครัฐก็จะมักจะคำนึงความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาเป็นทอดๆ กันไป

2. ผู้ประสบภัยพิบัติ

ภายใต้การได้รับบริการดังกล่าวข้างต้น ยิ่งห่างไกลจากความเป็นพลเมืองยิ่งขึ้น และแม้จะผ่านพ้นวิกฤติเข้าสู่ภาวะปกติ ห้วงต่อไปที่ดูเหมือนจะปลอดจากภัยพิบัติ  แต่ผู้ประสบภัยพิบัติก็จะถูกวางยาให้เข้ามาร่วมสร้างความสมเหตุสมผลของแผนงานโครงการของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมกับเข้ารับการสะกดจิตจากหน่วยภาครัฐจากการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ดูๆ แล้ว ไม่รู้จะหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคม ได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่พลเมืองเมื่อไหร่  สภาวการณ์ไม่เอื้ออำนวยจริงๆ


————————–66666———————————-