วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ท้องถนนกับการเรียนรู้เพื่อต่อสู้-ต่อรองกับรัฐ

รัฐองค์รวมในทัศนะของกรัมชี่เป็นการพยายามทำความเข้าใจการทำงานของรัฐ ชี้ให้เห็นว่ารัฐไม่ได้ปฏิบัติการผ่านตัวรัฐเอง แต่มีกลไก มีอำนาจ ในการเชื่อมโยงกับกลไกรัฐเพื่อทำอะไรบางอย่าง และรัฐไม่สามารถใช้กลไกรัฐบีบบังคับประชาชนได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการกล่อมเกลา สร้างกรอบความคิดให้ประชาชนรู้สึกว่าสิ่งที่รัฐทำลงไปเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

ในการพัฒนาการคมนาคมด้านถนนรัฐดำเนินนโยบายเพื่อช่วงชิงพื้นที่ทางการเมือง ตามแรงขับเคลื่อนผลประโยชน์ด้านอื่นๆ ซึ่งไม่ใช้อำนาจอ่อน (Soft Power)(เกี่ยวกับการสร้างความยินยอมพร้อมใจ) เป็นเครื่องมือ ใช้อำนาจแข็ง (Hard Power) เป็นกลไกรัฐที่เรียกว่า สังคมการเมือง

เมื่อมองผู้ใช้รถใช้ถนนผ่านทัศนะของกรัมซี่  ผ่านคำถามว่าผู้ใช้รถใช้ถนนได้พยายามคิดค้นวิธีการต่อสู้ ต่อรองกับอำนาจรัฐหรือไม่อย่างไร ก็จะพบคำตอบ 3 คำตอบ คือ

1. ต่อสู้ ต่อรอง และสร้างทางออกในด้านมืด เช่น ต้านการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่  ต้านการตรวจจับความเร็ว

2. สยบยอมทั้งแบบมีเงื่อนไข (ขอให้ตนเองได้ประโยชน์) และไม่มีเงื่อนไขแบบไม่รู้ไม่ซี้

3. ไม่พบปรากฏการณ์การใช้อำนาจอ่อนในการช่วงชิงพื้นที่ที่รัฐทำงานอยู่  ที่ดำเนินอยู่ก็เป็นไปในรูปที่ภาครัฐล่อหลวงตบตา ให้ครบกระบวนการตามระบบธรรมาภิบาล

สรุปว่า ผู้ใช้รถใช้ถนนคอยแต่ให้ภาครัฐเอาตัวเลขผู้บาดเจ็บผู้เสียชีวิตจากการเดินทางบนท้องถนนมาตัดสินใจใช้เม็ดเงินภาษีมาใช้กดขี่บังคับเอาตามใจ

——————xxxxxxx————————

Proudly powered by WordPress