วัฒนธรรมการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ หมายถึง ชุดของบรรทัดฐานทางสังคมต่างๆที่ผู้คน ยึดถืออันมีความเกี่ยวข้องกับการรับมือกับภัยพิบัติทั้งในช่วงก่อนเผชิญกับภัยพิบัติ ขณะเผชิญกับภัยพิบัติ และหลังจากภัยพิบัติ หรือสถานการณ์วิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นแล้ว
วัฒนธรรมการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ ประกอบด้วย
1) การรับผิดชอบต่อตนเอง
2) การรับผิดชอบต่อสังคม/สาธารณะ
3) การให้ความสำคัญกับการวางแผนเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น
4) การให้ความสำคัญกับการพึ่งพา ตนเองของประชาชน/ชุมชน
5) การสร้างบทเรียนเพื่อการเรียนรู้
6) ความเสียสละ ในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างสุดความสามารถ
วัฒนธรรมการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ จะเกิดขึ้นได้ผู้คนจะต้องได้รับการขัดเกลา เรียนรู้และซึมซับจาก
1) โรงเรียน ซึ่งเป็นตัวแทนการขัดเกลาทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญมากในการสร้างและปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการรับมือกับภัยพิบัติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การรับผิดชอบต่อตนเอง การรับผิดชอบต่อสังคม การมีสำนึกสาธารณะ การมีน้ำใจ การมีระเบียบวินัย การให้ความสำคัญกับการวางแผน การตั้งมั่นอยู่บนความประมาท การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการมีความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติอย่างเพียงพอ การสร้างกระบวนการขัดเกลาผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ปลูกฝังวัฒนธรรม
การเตรียมรับมือกับภัยพิบัติเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ต้องเน้นการสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วม และเน้นการสัมผัสเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้นว่า มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนลงพื้นที่จริง, การมีโอกาสได้รับฟังเรื่องราวประสบการณ์จริงของผู้ประสบภัยที่ทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครต่างๆ รวมถึงการสร้างกิจกรรมที่ให้เด็กและเยาวชนคุ้นชิน และเห็นว่าเรื่องของภัยพิบัติเป็นเรื่องใกล้ตัว และไม่น่ากลัวหากเราสามารถมีสติในการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้หัวใจสำคัญอีกประการที่ควรจะปลกฝังให้กับเด็กและเยาวชน คือ การสร้างวัฒนธรรม/คุณธรรมในเรื่องของจิตอาสาและการให้ โดยมีการออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริม สำนึกความรับผิดชอบดังกล่าวของเด็กและเยาวชน
จะต้อง มีการจัดทำ Emergency Guide for Teachers: เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติตนของครูในสถานการณ์ต่างๆ จัดทำ Simple Emergency Guide for Parents: คู่มือสำหรับผู้ปกครอง ซึ่งเนื้อหาหลักจะประกอบด้วย นโยบายด้านการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ บ่มเพาะความเป็นระเบียบวินัยขั้นพื้นฐาน (Discipline) เพื่อให้สมาชิกในสังคมเรียนรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับภัยพิบัติหรือภาวะวิกฤตต่างๆ
2) พิพิธภัณฑ์/แหล่งเรียนรู้บทเรียนจากภัยพิบัติ จะต้องมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ แก่ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมผ่านการจัดนิทรรศการ การจัดแสดงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรูปแบบที่น่าสนใจและดึงดูด มี Victim Conner ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ของประสบภัยโดยตรง ประสานกับสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน/นักศึกษามาเรียนรู้และมีการผลิตสื่อเผยแพร่/ให้ข้อมูลแก่สาธารณะ
3) กลุ่ม/องค์กรอาสาสมัครจิตอาสา-การรวมตัวของผู้ได้รับผลกระทบ จะต้อง’มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในชุมชนออนไลน์ การจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ การเป็นวิทยากรเผยแพร่ประสบการณ์ตนเองของอาสาสมัคร
4) องค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ต้องสร้างกระบวนการขัดเกลา ทางสังคมผ่านเวทีประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติการสร้างกฎ กติกาในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
5) การปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้อง’มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรมต่างๆของท้องถิ่น การสร้างกิจกรรมสาธารณะให้คนเข้าร่วม
6) มหาวิทยาลัย-ศูนย์/สถาบันวิจัย ต้องสร้างความรู้ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยที่เป็นระบบ สร้างเวทีประชุม/สัมมนาเพื่อให้ความรู้ ฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผลิตสื่อให้ความรู้ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
——————————