วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในปัจจุบันการจัดการสาธารณภัย จำเป็นต้องขยายกรอบภารกิจกว้างขวางขึ้นจากในอดีต  แต่มุมมองในการจัดการยังคับแคบเหมือนกับดำเนินภารกิจสมัยเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว

โดยมุมมองทางเศรษฐกิจที่ควรจะรีบดำเนินการแก้ไข ได้แก่

1. ที่ผ่านมานั้นขาดการประมาณตน เป็นการดำเนินการด้วยค่านิยมที่ยึดรูปแบบแต่ไร้เนื้อหาทำให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นแบบมักง่าย ขับเคลื่อนโดยผลาญเงินงบประมาณในลักษณะทำมากได้น้อย ไม่ประมาณตนมาอย่างยาวนาน

2.ผ่านมานั้นเพียงแต่แปะนั่นปะนี่อย่างไม่เป็นระบบแล้วนำเสนอต่อสาธารณชนเป็นการเพิ่มมูลค่าขึ้นมาเพียงเล็กน้อย ทำให้ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุที่แน่ชัด สร้างความตระหนักของสังคมได้เพียงเล็กน้อย ยังไม่เป็นการสร้างมูลค่าโดยกระบวนการวิเคราะห์กลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้นที่ซ่อนอยู่ข้างใน หาสิ่งเชื่อมโยงที่เชื่อมข้อมูลเหล่านั้นเข้าไว้ด้วยกัน หาแนวโน้ม หาความต้องการของสังคม อันจะนำไปสู่การทำแผนภาพในอนาคตได้อย่างชัดเจน พอเหมาะพอประมาณ ซึ่งจะสร้างความตระหนักของสังคมได้มาก

3.ผ่านมานั้น เป็นการดำเนินการด้วยค่านิยมยึดรูปแบบและผลลัพธ์ที่ฉาบฉวยจากการเรียนรู้มากกว่าจากสาระและกระบวนการเรียนรู้ เป็นไปในลักษณะ ตีหัวเข้าบ้าน ขาดความคิดที่จะปฏิรูปเชิงฐานรากทำให้การดำเนินการถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมที่ผิวเผินและ มักง่าย โอกาสที่จะคิดทำอะไรที่เป็นกิจกรรมระยะปานกลางระยะยาวถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมระยะสั้น เขียนลวกๆ จับโน่นจับนี่เป็นกิจกรรมการป้องกัน การลดผลกระทบ การเตรียมพร้อม

 

—————————-฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿———————————–