การนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใมช้น้ำ ได้กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งในสังคมไทย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2540 ที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศได้บังคับรัฐบาลไทยในฐานะลูกหนี้ ต้องพัฒนานโยบายด้านนี้
ซึ่งรายละเอียดของกรอบการพัฒนานั้น มุ่งเน้นที่จะสร้างหลักประกันด้านความมั่นคงของทรัพยากรน้ำอย่างเพียงพอสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ (ต่างกับสมัยนี้ ที่รัฐบาล คสช.ดำเนินมาตรการเพื่อสร้างอุตสาหกรรมเกษตรกรรมแบบทาสเชิงระบบ)
นโยบายการพัฒนาได้ละเลยที่จะกล่าวถึงความเป็นธรรมของการจัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ นโยบายฯอ้างหลักการในแง่เศรษฐศาสตร์ว่านำ้ในปริมาณเท่าๆกัน เมื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจะมีมูลค่าสูงกว่าใช้ในการเกษตรกรรม ถึง 70 เท่า
โดยมีประเด็นใจกลางที่กลุ่มนายทุนจะเข้ามามีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ 4 ประเด็น ได้แก่
1.หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน (Public Private Partnership),
2.เขื่อนกับการพัฒนา (Dam and Development Partnership),
3.ค่าคืนทุน (Cost Recovery),
4.การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Water Resources Management)
แต่ในหลายประเทศได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมสูงมากในการดำเนินนโยบายตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น สำหรับประเทศไทย แนวความคิดนั้น กำลังขับเคลื่อนอยู่ในแนวทางการปฏิรูปของรัฐบาล คสช. เพื่อรองรับระบบเกษตรกรรมแปลงใหญ่
————————///////////////////—————————