วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดเป็นสิ่งที่เราเห็นจนชินตาบนถนนในเมืองไทย และอุบัติเหตุที่ได้รับบาดเจ็บหนือเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดจากความเร็วเกินขีดจำกัดของความปลอดภัยของรถที่คุ้มครองได้จากการชน ส่วนรถจักรยานยนต์ก็ปะทะกับสิ่งแวดล้อมของถนนในเมืองไทยที่ยังไม่สามารถปรับให้ยอมรับความผิดพลาดได้  ถนนในเมืองไทยจึงเป็นถนนที่อันตรายอันดับต้นๆ ของโลก

ผลการสำรวจผู้ขับขี่  จำนวน 566 คน พบว่า

รายการ

ค่าเฉลี่ย

SD.

ค่าความเบ้

ค่าความโด่ง

Alpha if Item delete

ขับเร็วเป็นปกติ (ใครๆ ก็เร็ว)

9.1

1.56

.03

.11

.56

เมาสุรา

1.7

1.75

.09

.09

.48

มีเหตุเร่งรีบฉุกเฉิน

0.5

1.64

.05

-. 17

.49

มีความจำเป็นตามอาชีพในประเทศที่ไม่โปร่งใส

0.1

1.76

.23

-.27

.53

ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด = .52

ข้อสังเกตุ ความเป็นปกติของการใช้ความเร็วในการขับขี่ จะสังเกตุได้ว่า

1. การใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะบนท้องถนน (Inappropriate Speed)

ถนนที่เหมาะสมกับลำดับชั้นของถนนและความเร็วที่ต้องการใช้งาน คณะกรรมการจัดระบบจราจรระดับจังหวัด ก็ยังไม่มีศักยภาพในการดำเนินการกำนดความเร็วของถนนของแต่ละช่วง โดยพิจารณาจากความคล่องตัว (Mobility) และความปลอดภัย (Safety) หน่วยงานส่วนกลางก็ไม่เกณฑ์หรือกรอบการพิจารณาให้ชัดเจน (ไม่ศีกษามัวแต่วาดกราฟผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจากเมาขับไม่สวมหมวกนิรภัยแข่งกันแล้วมาถกเถึยงกันว่ากราฟคนไหนสวยกว่ากัน สูงต่ำกว่ากันอย่างไร)

2. ความอ่อนด้อยในการแก้ไขปัญหา

2.1 โยนขอบเขตปัญหา (Magnitude) ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ขับเร็ว ภาครัฐไม่มีการศึกษาไม่มีความเข้าใจขอบเขตปัญหา (เข้าใจกราฟสูงต่ำไม่เพียงพอ ต้องมีรายเก่ารายใหม่ ฌครงสร้างสังคมในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น)

2.2 Distribution แต่อยู่บนท้องถนน มีมาตรการที่จะ distribution นอกถนนมากมาย สะดวกและสามารถผนวกกับวิถีชีวิตได้ครอบคลุม  ทำกันซะบ้างซิครับผม

2.3 Cause and Determinant ไปมุ่งเน้นที่ปลายเหตุ ไม่ควบคุมที่ต้นน้ำของสาเหตุ

2.4 Preventive measures มาตรการใดไม่ประสบผลสำเร็จก็ไม่ยอมเลิก ตะบี้ตะบันทำอยู่นั่นแหละ มันทำง่ายหรือยังไงกัน ประเมินมาตรการหากไม่บรรลุผลปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนทุกระดับ

2.5 Disease control program ทุกภาคส่วนไวต่อกลุ่มเสี่ยง บางทีในครอบครัวยังแถเข้าข้างคนในครอบครัวตนเองแบบไม่ลืมหูลืมตา  ทุกภาคส่วนเพิกเฉยเป็นธุระ  พัฒนากันทุกระดับด้วยมาตรการองค์กร แม้แต่องค์กรหมู่บ้าน องค์กรครอบครัว

2.6 Program Evaluation ทำการประเมินหรือพูดคุยถึงปัญหาทุกระดับ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาประเมิน (ไม่ต้องเอากราฟไปครอบเขาละ เห็นไปส่งเสริม อปท.ก็จะเอาวัฒนธรรมไปครอบ  เพียงแค่เขาประเมินด้วยสายด้วยความคิดเห็นของเขายังจะมีโอกาสสำเร็จมากกว่าการประเมินแบบวัฒนธรรมราชการ)

 

—————————————————77777—————————————————————