ด้วยประเทศไทยดำเนินนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนมานานนับทศวรรษ ได้ผลผลิตเป็นผลงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับหนึ่ง ด้วยขาดการประเมินผลที่มุ่งพัฒนาแก้ไขปรับปรุง (จ่ายเงิน 30 กว่าล้านไปประเมินความพึงพอใจ ความร่วมมือกับข้อสั่งการ)
จึงทำให้การดำเนินงานในช่วงนี้ ผลการดำเนินงานที่มีการโหมกระพือในช่วงเทศกาล แต่ผลการดำเนินงานก็ไม่แตกต่างจากช่วงวันปกติมากนัก เรียกว่าเลิกไปเลยก็ไม่ทำให้อุบัติเหตุมากขึ้นหรือน้อยลงกว่านี้
จากการศึกษาจากผู้ใช้รถใช้ถนนในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 450 คน พบว่าการดำเนินนโยบายที่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนอยากได้อยากสัมผัสจากหน่วยงานของรัฐ เป็นดังตารางผลการศึกษา ท้ายนี้
แนวนโยบาย |
ดัชนีความต้องการจำเป็น |
ผลกระทบ/ผลจากขาดแนวนโยบาย |
การสนับสนุนส่งเสริมควบคู่กับการควบคุมทางสังคมเพื่อสร้างรูปแบบวัฒนธรรม การใช้รถยนต์ และรถจักรยายนต์อย่างปลอดภัย |
7.8 |
อุบัติเหตุที่รุนแรง/ร้ายแรงจนเสียชืวิต ส่วนใหญ่เกิดกับรถคันเดียวไม่มีคู่กรณี ร้อยละ 68 |
กฎหมายที่ไม่เน้นเอาผิดทางอาญาโดยมีความสมดุลกับการเอาผิดทางแพ่งและพาณิชย์ |
7.2 |
-ผู้ขับขี่ละเลยความปลอดภัยเมื่อรู้สึกว่าไม่มีเจ้าหน้าที่รู้เห็นการกระทำผิดของตนเอง -ต่อต้านระบบ/เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้รถกับเจ้าหน้าที่ |
อุปทานผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัย |
6.4 |
-ผู้ผลิตไม่มีแรงจูงใจ/แรงบีบในการทำตลาดสินค้าปลอดภัยสูง -ผู้บริโภคไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ/เสียเปรียบ/ |
โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตร/การยืดหยุ่นต่อความผิดพลาด |
5.8 |
ความไม่สมเหตุสมผลความสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ |
การฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้ขับขี่ |
4.9 |
ไม่ประคับประคองป้องกันการเป็นฆาตกร |
——————-//////////////——————-