วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ด้วยแรงกดดันจากการบริหารความเสี่ยงของภาคอุตสาหกรรม ทำให้รัฐบาลมีแนวคิดที่จะผลักดันการบริหารทรัพยากรน้ำให้เป็นกฎเหล็กที่จะสามารถบังคับการใช้น้ำให้เป็นแนวทางเดียวกันได้อย่างเบ็ดเสร็จhttp://www.onwr.go.th/?page_id=4184 หรือhttp://web.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=%B7&lawCode=%B711

ในปัจจุบัน ทรัพยากรน้ำแม้มีกฎหมายที่เป็นรูปธรรมในการบริหารจัดการ แต่มีหลายฉบับที่มุ่งแก้ไขปัญหาสำหรับเฉพาะกิจกรรม และแต่ละฉบับไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันแต่อย่างใด http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1812

ดังนั้น จึงมีความพยายามที่จะรวบอำนาจการบริหารจัดการน้ำให้อยู่ภายใต้หน่วยงานเดียวและกฎหมายเดียว เพื่อบูรณาการให้เกิดเอกภาพและทิศทางเดียวกัน ให้สามารถกำหนดแผนบริหารความเสี่ยงในการใช้ทรัพยากรน้ำได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม

แม้จะเป็นแนวทางที่ดี แต่เนื่องจากภาคเกษตรกรรมของสังคมถูกเอารัดเอาเปรียบจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด จึงอาจไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกับภาคอุตสาหกรรมได้

อีกทั้ง อำนาจต่อรองกับรัฐบาลของภาคเกษตรกรรมยังมีน้อยมาก ที่สะท้อนออกมาในรูปวาทกรรมในการลดพื้นที่การเพาะปลูก การหันไปปลูกชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อย

ในพื้นที่ภาคตะวันออกปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน้ำรุนแรงมาก และรัฐบาลได้ตัดสินใจนำทรัพยากรน้ำสาธารณะในอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรกรรมไปให้แก่เอกชนในนามบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด หรือ อีสต์ วอเตอร์ ซึ่งนำน้ำสาธารณะไปขายให้นิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกหลายแห่ง

 

————฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿—————