ปัจจัยที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกัยการบริหารจัดการภัยพิบัติ นอกจากกระบวนการจัดการความรู้ การส่งทอดความรู้ประสบการณ์ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม หรือ การสร้างลักษณะนิสัยที่ดี การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ในการเตรียมความพร้อมกับการรับมือกับภัยพิบัติในสังคมแล้ว จำเป็นต้องประกอบด้วยต้นทุนเดิมที่มีมาแต่เดิมเป็นปัจจัยสำคัญ อันประกอบด้วย
1) ทุนทางกายภาพ อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การวางผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการเกิดภัยพิบัติ
2) ทุนทางสังคม ประกอบด้วย องค์ชุมชน เช่น สมาคมผู้พักอาศัย มูลนิธิสวัสดิการท้องถิ่น ศูนย์กำลังใจหรือ Magokoro, องค์กรทางสังคม อาทิ ศูนย์หรือสถาบันวิจัยด้านภัยพิบัติ, เครือข่ายทางสังคม, ภาวะอาสาสมัครนิยม, บรรทัดฐานการพึ่งพาอาศัยกัน, การจัดการตนเอง, การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
3) ทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมการวางแผนหรือวัฒนธรรมการรับมือกับภัยพิบัติ,บทเรียน-ประสบการณ์-ชุดความรู้การจัดการภัยพิบัติ
4) ทุนมนุษย์ ได้แก่ ระบบการให้ความรู้การให้การศึกษา, ระดับการพึ่งตนเองได้, คุณธรรมจริยธรรม
5) ทุนการเงิน ทุนการเงินเป็นทรัพยากรที่เป็นเงินที่ประชาชนจำเป็นจะต้องใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำรงชีพในภาวะเผชิญกับภัยพิบัติ ความต้องการ เม็ดเงินของผู้ประสบภัยเพื่อการดำรงชีวิตมีสูงมากกว่าในช่วงปกติ การวิเคราะห์ทุนการเงินพิจารณาได้จากที่มาของทุนการเงิน การสร้างโอกาสให้มีทุนการเงิน และ การเข้าถึงทุนการเงิน
————————————55555555555555—————————————–