วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์ความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัว  ถ้าให้เกิดขึ้นเฉพาะภายในใจก็คงไม่มีรูปธรรมใดๆ ให้เห็นได้ กลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนต่อไป สร้างมรดกตกทอดให้รุ่นลูกรุ่นหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่าอย่างยั่งยืน  จะต้องดำเนินกลยุทธ์ ดังต่อไปนี้

1. ความยั่งยืน การเติบโตใดๆ ต้องสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมและมนุษย์

หลักการพื้นฐานที่เรียกว่า ” ความยุติธรรมระหว่างคน 2 ยุค ” เป็นแนวทางที่ทุกส่วนในโลกจะต้องผนึกกำลังให้เป็นกระแสหลักให้ประสานเป็นเนื้อเดียวกันกับพลวัตของสภาพแวดล้อม  ไปเป็น แบบพหุนิยมองค์รวม (Holistic Pluralism) ด้วย มิใช่เอกนิยมองค์รวม การพัฒนาเพื่อบรรลุถึงความต้องการของมนุษยชาติในปัจจุบัน (โดยเฉพาะคนยากจน) ขณะเดียวกันก็ จะต้องไม่เป็นลดทอน หรือเบียดบังโอกาศที่จะบรรลุความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในรุ่นต่อ ๆ ไป

2. การสร้างนวัตกรรม ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อเป้าหมายความยั่งยืน

การแทรกสิ่งใหม่ขึ้นมา (ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม) หรือหากมีความจำเป็นที่จะดำเนินการให้กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่ใดที่หนึ่ง ก็จะต้องเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่อื่นๆ เป็นการชดเชยเพื่อให้ในแง่มหภาคของคุณภาพสิ่งแวดล้อมคงอยู่ได้ดังเดิม

3. การเข้าถึงทรัพยากรสังคมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม โดยมุ่งเน้นความสะดวกในระบบดิจิทัลเป็นสำคัญ ไม่ควรจะเป็นทรัพยากรที่เป็นชิ้นๆ  เอามาแจกจ่าย สงเคราะห์

ถ้ามนุษย์ไม่ยอมขับเคลื่อน  ก็อาจจะแพ้สภาพแวดล้อมที่มีพลวัตที่รุนแรงมากขึ้นทุกวัน

—————————-22222222222222222222————————-