เนื่องจากการรับรู้ข่าวสารเชิงลบเป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้ง การรับรู้ดังกล่าวไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของสังคมมากนัก จำเป็นที่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะได้เล็งเห็นถึงความต้องการทางยุทธศาสตร์ที่จะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนด้านต่างๆต่อไป
ความต้องการทางยุทธศาสตร์ที่ควรจะเล็งเห็น ได้แก่
1. การพัฒนาการสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างการรับรู้ทางสังคมในประเด็นการช่วยเหลือและจัดการตนเองในภาวะวิกฤต
2. เสริมสร้างให้ชุมชนท้องถิ่นมีกองทุนภัยพิบัติสนับสนุนงานด้านการจัดการตนเองและบริหารจัดการทุนทางสังคม
3. เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางสังคม
4. พัฒนาขีดความสามารถของชุมชน ท้องถิ่น อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยงานภาครัฐ ในการฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิมและปลอดภัยกว่าเดิม
5. พัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีมาตรฐาน มีเอกภาพ มีความยืดหยุ่นของโครงสร้างองค์กร
6.พัฒนาระบบการกำกับ ควบคุมพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติให้มีความชัดเจน ไม่ขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนระหว่างกันในการจัดสรร ปรับเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายทรัพยกรกู้ภัยฟื้นฟู เกิดเอกภาพในการการเผชิญเหตุร่วมกัน
7.พัฒนาชุดเครื่องมือสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติ ได้แก่ ชุดสนับสนุนการจัดการเหตุการณ์ แผนที่เสี่ยงภัย เครื่องมือสื่อสาร แผนที่สารสนเทศชุมชน เป็นต้น