วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ภาวะ “ตาบอดสาธารณภัย”

ภาวะตาบอดสาธารณภัยเป็นปรากฎการณ์ที่มนุษย์มองข้ามหายนะจากที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันโดยตรงหรือจากการได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ   เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณชนหรือสังคมในขนาดใหญ่  โดยไม่มีการคาดการณ์ล่วงหน้า หรือไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างเพียงพอ ทำให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสังคมและอาจจะมีผลต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน

การจัดการภาวะ “ตาบอดสาธารณภัย” จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมก่อนเหตุการณ์เกิดขึ้น รวมถึงการมีการร่วมมือของหน่วยงานและประชาชนทั้งส่วนราชการและเอกชนในการจัดการสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนและสังคมในทุกๆ ด้าน รวมถึงการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกู้ภัยมีความพร้อมและอุปกรณ์ที่เพียงพอในการรับมือกับสถ

ภาวะตาบอดดังกล่าว แบ่งได้ 3 สถานะ ตามความชัดเจนของสถานการร์สาธารณภัย ดังนี้

สถานะที่ ๑ ภาวะโจ่งแจ้ง

เป็นภาวะที่หายนะถูกตาของเราจับภาพและเรารับรู้ได้ถึงปัจจัยให้เกิดหายนะที่จำกัดอยู่ในพื้นที่นั้น และจบลงในเวลาอันสั้น เช่น ฟ้าผ่า  ไฟป่า  ไฟลามทุ่ง

สถานะที่ ๒ ภาวะบิดเบือน

เป็นภาวะที่หายนะที่ตาของเราจับภาพและรับรู้ได้ถึงปัจจัยหายนะในขณะนั้น แต่เราไม่อาจรับรู้ได้โดยง่ายถึงองค์ประกอบหายนะนั้น เช่น ภัยแล้ง ภัยหนาว

สถานะที่ ๓ ภาวะห่วงโซ่หายนะ

เป็นภาวะที่หายนะนั้นเกิดขึ้นจากองค์ประกอบภายนอกพื้นที่ และมีองค์ประกอบต้นเหตุที่แท้จริงมากจากภาวะกดดันหรือส่งเสริมที่ไม่ใช่องค์ประกอบของหายนะนั้นเลย  เช่น

-ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือของไทย นับวันจะรุนแรงขึ้นทุกวัน ในปี 2566 ในเดือนมีนาคมจังหวัดเชียงใหม่ก็มีค่าดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 289 US AQI และค่า PM 2.5 วัดค่าได้ 239 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง โดยผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศดังกล่าวสูงสุดเป็นอันดับที่ 1 ของเมืองหลักที่มีมลพิษอากาศสูงสุดของโลก ต่อเนื่องเกือบตลอดช่วงหลายวันที่ผ่านมา https://thestandard.co/chiang-mai-no-1-city-with-air-pollution/

 ทั้งๆ ที่ภาครัฐราชการปรสิตได้ใช้เงินงบประมาณปีละเจ็ดพันแปดพันล้านบาท โดยกระจายไปตามแหล่งปรสิตแต่ละสายพันธ์ร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา แต่สถานการณ์ในกลางปี 2566 GISTDA พบจุดความร้อนเพิ่มขึ้นรอบๆ ประเทศไทย เมียนมาพบจุดความร้อน 10,563 จุด สปป.ลาว 9,652 จุด และไทยพบจุดความร้อนถึง 5,572 จุด สูงที่สุดในรอบ 5 ปี  และข้อมูลจาก NASA ก็พบจุดความร้อนสูงหนาแน่นในประเทศเพื่อนบ้าน

https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/map/#d:2023-03-30..2023-03-31,2023-03-30;@105.2,18.7,6z 

สาเหตุการเพิ่มขึ้นของจุดความร้อนในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่มี Demand มาจากพ่อค้าชาวไทยที่ขยายธุรกิจเข้าไปตั้งตลาดรับซื้อในประเทศเพื่อนบ้านมาตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ในประเทศไทย โดยการส่งเสริมของรัฐบาลปาหยุด จันทร์โอชะ (ลดปลูกข้าวซะ  เมล็ดพันธ์ข้า่วโพดเจ้านายอั๊วก็ขาย ปุ๋ยก็มีขายให้ รับซื้อข้าวโพดอีกด้วย) ทำให้เศษพืชที่เป็นซังข้าวโพด 1.2ล้านตันต่อปี   เปลือก 3.1 แสนตันต่อปี ที่จะต้องมีการกำจัดให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ปล่อยให้มีการจัดการโดยการเผาทิ้งดังเช่นในปัจจุบัน

ไม่เพียงแต่ประเทศไทย  ระหว่างปี 2559 -2565 พื้นที่ป่าในลุ่มน้ำโขงลดลง เป็นพื้นที่ 10 ล้านไร่ เนื่องมาจากนายทุนจีนได้เข้ามาลงทุนทำการเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน  https://km-ir.arts.tu.ac.th/files/original/bb2aab0b98098dde63830fd07aec47e95d324c93.pdf

-ปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่หลายๆ แห่ง ส่วนใหญ่จะเป็นภาวะห่วงโซ่หายนะเช่นเดียวกัน

Proudly powered by WordPress