วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความปลอมเปลือกของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ความปลอมเปลือกของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหมายถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่เต็มจริงเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อทำให้คนรู้สึกว่าการจัดการสถานการณ์นั้นได้รับการดูแลและดำเนินการอย่างเหมาะสม โดยจริงๆ แล้วมันอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นจริงๆ

เราสามารถเห็นการปลอมเปลือกของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในหลายกรณี เช่น การเตรียมความพร้อมสำหรับการฝนตกหนักหรือพายุที่อาจจะมาถึง การเตรียมการเหล่านี้อาจจะเป็นการติดตามความคืบหน้าของพายุและสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นไปได้ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่ในบางกรณี การเตรียมการอาจจะไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์จริงๆ

อีกตัวอย่างหนึ่งคือการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโรคระหว่างประชากร การปลอมเปลือกอาจทำให้มีการประกาศว่ามีการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด หรือมีการบอกให้ประชาชนรับวัคซีนหรือเวชภัณฑ์เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาด แต่ในบางกรณี การตอบสนองนี้อาจจะไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์จริงๆ

ประเทศนี้ยังปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยม รัฐธรรมนูญ (เผด็จการ) เป็นแค่กระดาษเปื้อนหมึกที่พร้อมจะทิ้งขยะและเขียนใหม่ตามแต่ผู้ถือ ไม่ต่างอะไรกับการจดใส่กระดาษชำระไว้ใช้เพียงชั่วครู่เท่านั้น  เอาไว้ใช้ปกครองไม่ใช่เอาไว้ใช้อำนวยการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

อำนาจนิยมและรัฐธรรมนูญ ต้นธารแห่งความปลอมเปลือกของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

พลวัตที่ขับเคลื่อนภายใต้อำนาจนิยมและรัฐธรรมนูญ(เผด็จการ) เป็นไปในลักษณะที่ปลอมเปลือกสำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดังนี้

1.ใช้เทคนิคการบริหารจัดการเชิงเทคโนโลยีในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสิ่งแวดล้อมแบบแยกเป็นส่วนๆ  แต่เป็นความปลอมเปลือกเพราะละเลยไม่คุ้มครองต้นทุนทางธรรมชาติ และต้นทุนทางสังคม  การที่ต้นทุนทางธรรมชาติและต้นทุนทางสังคมถูกย่ำยี กระทำชำเรา ส่งผลให้เด้งประชาชนออกจากความปลอดภัยโดยปริยาย เด้งแบบไม่กล้าหือ อยู่แบบสมยอมกับอำนาจนิยม ซึ่งการอยู่แบบเห็นแก่ตัว (ที่ไม่กล้าลุกขึ้นมาสู้) ได้สร้างภาระให้แก่ลูกหลานในอนาคต

ปัจจุบัน  โลกไม่อาจรองรับสิ่งที่มนุษย์ได้เปลี่ยนแปลง/ได้ผลิต/ได้ใช้  โลกไม่อาจทดแทน ไม่อาจดูดซับ ไม่อาจอยู่ในสภาวะเดิมๆ อีกต่อไป   ประชาชนคนชั้นล่างก็ปล่อยให้เขาสวาปามหยาดเหงื่อแรงงานของตน มอบให้ชนชั้นปกครองมาถลุงกับการบริหารจัดการเชิงเทคโนโลยีนานาประการ  โดยมีสิ่งของอุปกรณ์ช่วยเหลือให้ซาบซึ้งในคราวเลือกตกยางออก เกือบเป็นเกือบตายในคราวประสบภัย

2.สถาปนาความเหลื่อมล้ำในสังคมเพื่อมากำหนดแนวทางการวิวัฒนาการของเผ่าพันธ์มนุษย์ ธรรมชาติได้พ่ายแพ้ต่อการวิวัฒนาการของมนุษย์แต่ฝ่ายเดียวไปแล้ว ไม่สามารถปรับตัวเองได้แล้ว ความหลากหลายสายพันธ์ได้หดหายลงไปเรื่อยๆ ยังเหลือแต่มนุษย์ด้วยกันเองที่พยายามแก่งแย่งกันวิวัฒนาการ  วิวัฒนาการให้ความซับซ้อนของความเหลื่อมล้ำให้มากขึ้นมากขึ้น เป็นความปลอมเปลือกที่กำลังเดินไปอย่างเข้มข้นกว่าความปลอมเปลือกตามข้อ 1.

ปัจจุบันสถานการณ์ของการวิวัฒนาการได้มาถึงช่วงปลาย ๆ ของยุคต้นแล้ว ชนชั้นล่างไม่อาจพึ่งพาต้นทุนทางธรรมชาติได้อีกต่อไป  ต้องพึ่งพาทุนนิยมอุตสาหกรรมในการดำเนินชีวิต ชนชั้นล่างยังไม่อาจรับรู้ถึงการสถาปนาความเหลื่อมล้ำที่ตนเองสัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน (ปล่อยให้ชนชั้นปกครองกินบนเรือนขี้รดบนหลังคา)

Proudly powered by WordPress