วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ทำไมถึงยังคงต้องประสบสาธารณภัยซ้ำซาก

อัตราส่วนการประกอบสร้างสาธารณภัย

1.ความพ่ายแพ้ของระบบนิเวศของธรรมชาติต่อระบบการพัฒนาของมนุษย์  ร้อยละ 68

2.ความสามารถในการพัฒนาของมนุษย์  ร้อยละ 32

หลุมดำของความสามารถในการพัฒนาของมนุษย์

ในความสามารถนั้น มีส่วนที่ซ่อนเร้นอำพรางความด้อยความสามารถอยู่หลายๆ ประการ (ที่เราไม่อยากเข้าใจ เหมือนหลุมดำที่รับรู้ว่าอย่าเข้าไปเฉียดใกล้) ที่สำคัญได้แก่

1. ระบบการส่งสารไม่ดี

2. คนไทยอดทนกับสิ่งที่ไม่ควรอดทน  ก้มหน้าก้มตาดิ้นรนตามแนวคิดไปตามกรอบของโครงสร้างทางสังคมที่ตนอยู่อาศับพึ่งพิง

กรอบโครงสร้างทางสังคมด้านสาธารณภัย

1.รวมศูนย์อำนาจ

ทำให้ไม่มีการกระจายทรัพยากรไปยังพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ  Mind set ของผู้กุมอำนาจบริหาร (แบบเผด็จการ) คือ การปรับปรุงคุณภาพพื้นที่ให้มีภูมิต้านทานต่อความเสี่ยงมันไม่สำคัญอะไรเลยเมื่อเทียบกับการเพิ่มศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัดของหน่วยงานส่วนกลาง พวกเขา (เหล่าปรสิต)คิดว่าการเจริญเติบโตของหน่วยงานส่วนกลาง (ที่มีการวัดผลงานด้วยตัวชี้วัดมากมาย) เพียงพอแล้วที่จะทำให้ปลอดภัยจากสาธารณภัยหรือมีศักยภาพที่ดีเยี่ยมต่อการรับมือกับสาธารณภัย (ทั้งที่ตัวเองหน้าบานมีผลงานยอดเยี่ยมที่จะขึ้นเงินเดือนเพิ่มยศเพิ่มตำแหน่ง  แต่ประชาชนแบภาระหลังอาน)

2.คนไทยเป็นสังคมก้มหน้าก้มตา

เป็นปัจเจกบุคคลที่สนใจแค่การเพิ่มขึ้นของรายได้ของตัวเอง  แม้โดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์ให้ความสนใจกับเรื่องของความเท่าเทียม (fairness) และสวัสดิการของสังคมเป็นอย่างมาก ไม่ได้คิดถึงแค่เงินในกระเป๋าของตนเองเพียงอย่างเดียวก็ตาม

3.เราไม่คิดว่าปัญหาสาธารณภัยมันเป็นปัญหาที่บรรเทา/ป้องกันได้ในบางส่วน หรือเป็นปัญหาที่ไม่เร่งด่วนอะไร  และเราสามารถผ่านมันไปได้สบายๆ (พะน่ะ  ทั้งที่บางที บางสถานการณ์มีคนตายเป็น้อย)

สรุป

จากรายละเอียดของอัตราส่วนการประกอบสร้างสาธารณภัย  หลุมดำของความสามารถในการพัฒนาของมนุษย์ และกรอบโครงสร้างทางสังคมด้านสาธารณภัย ก็พอให้ความกระจ่างแก่ท่านว่า ทำไมเรายังคงต้องประสบกับสาธารณภัย

————————-




Proudly powered by WordPress