วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นสาธารณภัยหรือไม่

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโน่า-2019 เป็นสาธารณภัยหรือไม่  คำตอบคือ เป็นสาธารณภัย ตามความหมายของสาธารณภัยในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550  ที่ให้ความหมายของสาธารณภัย ไว้ในมาตรา 4 ว่า “สาธารณภัย หมายถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์โรคระบาดสัตว์โรคระบาดสัตว์น้ํา การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติมีผู้ทําให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย  http://project-wre.eng.chula.ac.th/watercu

สำหรับการบริหารจัดการสาธารณภัย ที่เป็นภัยจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโน่า-2019 ในครั้งนี้  สามารถสะท้อนความรับผิดชอบของรัฐราชการปรสิต ได้ ดังนี้

1.รัฐบาล  มีวิสัยทัศน์ และสามารถออกคำสั่งทางการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่างประเทศสาละขันประเทศหนึ่งที่รัฐบาลกินเงินเดือนและรับเงินภาษีไปบริหารแต่กลับเป็นลูกจ้างเจ้าสัว มีวิสัยทัศน์อภิมหาญาณที่จะสถาปนาระบอบใหม่  จึงได้หมกเหม็ดวิสัยทัศน์อันโสมม และออกคำสั่งทางบริหารที่ลดความเข้มแข๊งของภาคประชาชนภาคเอกชนธุรกิจที่ไม่ใช่พวกนานาประการ  นำประเทศสู่ยุคอโยธยา ไม่ใช่นำสู่ยุคที่ประชาชนต่างร่วมกันมั่งคั่งไปด้วยกัน

2.ระดับกระทรวง

นำนโยบายของรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยทักษะเชิงยุทธศาสตร์ /นโยบาย จัดทำนโยบายและคำสั่งทางการบริหาร และเมื่อพิจารณาการแพร่ระบาดแล้ว เข้าหลักเกณฑ์เป็นสาธารณภัย กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (Coronavirus Disease 2019 (COND 19)) เป็นโรคระบาด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่จะต้องมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดและให้ความช่วยเหลือประชาชนต่อไป

3.ระดับกรม

นำนโยบายกระทรวงมาสู่การปฏิบัติ ทั้งจัดทำนโยบายและแนวทางปฏิบัติ  ออกคำสั่งทางการบริหาร  และปฏิบัติการต่างๆ  รวมทั้ง ติดตามปัจจัยที่ปะทะถาโถมหรือปฏิสัมพันธ์กันนำไปสู่ภาวะภัยพิบัติ

4.ระดับจังหวัด

จังหวัดดำเนินการประกาศเขตพื้นที่การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดจึงจะสามารถให้ความช่วยเหลือหรือดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดได้ต่อไป

5.ระดับท้องถิ่น

มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ข้อ ๖ กําหนดว่า กรณีเกิดสาธาภัยในพื้นที่ของององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไมว่ ่าจะมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือไม่ก็ตาม  อปท.สามารถดําเนินการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องตันโดยฉับพลันทันที เพื่อการดํารงชีพ หรือบรรเทาความเดือดรอ้ นเฉพาะหน้าหรือระงับสาธารณภัย หรือเพื่อคุ้มครองชีวิต และทรัพย์สิน หรือป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน ได้ความจําเป็ น ภายใต้ข้อบังคับ อํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยไมต่ เสนอคณะกรรมการพจิ ารณา

และขอ้ ๑๘ กําหนดว่ากรณีเกดิ สาธารณภัยฉุกเฉิน จําเป็ นเร่งด่วน ให้ อปท.เบิกจ่ายจากงบกลาง ประเภทเงินสํารองจ่าย ในข้อ บัญญัติหรือเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี  โดยโครงการไมจ่ ําเป็ นต้องอยู่ในแผนพัฒนาท้องถิ่น

———–xxxxxxxxxxx————

Search

Social

Facebook : <a href="https://www.facebook.com/profile.php?id=61555375088440"

Instagram

Twitter