วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การบริหารความสมดุลเพื่อป้องกันภัยพิบัติ

ความพอประมาณ การใช้ความรู้และเหตุผลในการตัดสินใจและการมีภูมิคุ้มกันที่ดีก่อให้เกิดความสมดุล ในบริบทของการบริหารจัดการความสมดุล.ในระดับต่างๆ ซึ่งเมื่อได้ดำเนินการสามารถที่จะป้องกันภัยพิบัติได้  โดยแบ่งเป็น ๔ ระดับ คือ

๑.ระดับโลก ต้องบริหารจัดการความสมดุลระหว่าง

๑.๑ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ กับการควบคุมธรรมชาติ

๑.๒ การใช้ประโยชน์เพื่อความสะดวกสบายของคนในยุคปัจจุบัน กับความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติในอนาคต

๒.ระดับประเทศ ต้องบริหารจัดการความสมดุลระหว่าง

๒.๑ ทุนนิยมอิงตลาด กับทุนนิยมอิงสังคม

๒.๒ การใช้ กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

๓.ระดับองค์กร ต้องบริหารจัดการความสมดุลระหว่าง

๓.๑ ความเสี่ยงกับผลตอบแทน

๓.๒ การพัฒนาขีดความสามารถภายในกับการใช้เครือข่ายความร่วมมือจากภายนอก

๓.๓ คุณค่า กับ มูลค่า

๓.๔ การรังสรรค์นวัตกรรม กับการลอกเลียนแบบ

๔. ระดับปัจเจกบุคคล ต้องบริหารจัดการความสมดุลระหว่าง

๔.๑ ปัจจุบัน กับอนาคต

๔.๒ ส่วนตัว กับส่วนรวม

๔.๓ การแข่งขันกับความร่วมมือ

๔.๔ ความต้องการการเปลี่ยนแปลงกับความมั่นคงปลอดภัย

 

——————————฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿———————————————

 

 

 

Proudly powered by WordPress