วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

น้ำท่วมฉับพลันแบบไม่ได้ตั้งตัว

อุทกภัยเปลี่ยนไป : จากทยอยเพิ่มระดับสูงขึ้น นับวันจะเปลี่ยนเป็นแบบฉับพลันเพิ่มมากขึ้น

เดิมคนไทยจะคุ้นชินกับเหตุการณ์อุทกภัยทั้งที่เกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากปัญหาระบบระบายน้ำที่มักใช้เวลาหลายๆชั่วโมงหรือเป็นวันกว่าที่น้ำจะท่วมสูง ทำให้ผู้ประสบภัยมีเวลาเตรียมตัวในการอพยพ  แต่นับจากปี 2564 คนไทยประสบกับสถานการณ์น้ำท่วมแบบฉับพลันแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว  ในหลายๆ จังหวัด เช่น ที่จังหวัดสุโขทัย https://www.bangkokbiznews.com/news/962162 จังหวัดเชียงราย https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6558502 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/951923 จังหวัดนครราชสีมาที่อำเภอปากช่อง  อำเภอเมืองนครราชสีมา https://www.youtube.com/watch?v=-JOiqdvPfWQ จังหวัดพัทลุง https://www.youtube.com/watch?v=jR07GSo24FY จังหวัดขอนแก่น https://mgronline.com/local/detail/9640000099113 โดยมาจากปัจจัย 2 ปัจจัยหลัก คือ ปรากฏการณ์ฝนตกหนัก และแหล่งกักเก็บน้ำ/ฝาย/อ่างเก็บน้ำแตก

แล้วในอนาคตคนไทยจะยังคงพบกับการหนีน้ำแบบไม่มันตั้งเนื้อตั้งตัวอีกหรือไม่

เมื่อประเมินจากความตระหนักของสังคม  การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และประสิทธิภาพของรัฐปรสิตแล้ว ในอีกระยะ 50 ปีนี้ คนไทยยังต้องเผชิญชะตากรรมแบบนี้ต่อไปอีก

1. ความตระหนักของสังคม ถูกปรสิตกดขี่ไม่ยอมให้มีศักยภาพในการป้องกันตนเอง สร้างภววิทยาที่เคลือบด้วยยาพิษ เริ่มตั้งแต่การกำหนดในรัฐธรรมนูญ กำหนดในระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เข้มแข็ง และส่งผลให้เกิดแนวคิดของประชาชนที่ผูกติดกับบทบาทของรัฐปรสิต ให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์กับรัฐปรสิต  ราวกับรัฐปรสิตเป็นผู้สร้างผู้กำหนดชะตาชีวิต  เป็นการลดความสำคัญของการรับรู้ของประชาชนคนไทย โดยเห็นได้จาก

ตั้งแต่ปี 2018 ประเทศไทยจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2018- 2037 (พ.ศ. 2561-2580) และเริ่มมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 12 ปี ระหว่างปี 2015-2026 (พ.ศ. 2558-2569) มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 (2018) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้สอดคล้องกันในทุกมิติ สมดุล และยั่งยืน ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีการพยายามร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำเพื่อบูรณาการในการบริหารจัดการน้ำในระดับลุ่มน้ำ นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (2014-2018) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในการบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติ มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง วิเคราะห์สถานการณ์จากข้อมูลที่ตรวจวัด และจัดทำระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early warning system) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่มในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2562)”

2.การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ยังคงมุ่งที่จะยอมเสียทรัพยากรทางธรรมชาติทุกอย่างเพื่อให้เกิดการลงทุน และยังคงมอมเมาหรือกดขี่ทางพัฒนาการทางสมองของคนไทยให้กลับกลายไปว่าคนไทยไม่รู้จักสภาพที่แท้จริงของตนเอง รัฐปรสิตเท่านั้นที่กำหนดทัศนคติชี้นำทิศทางให้ชีวิตคนไทย คนไทยทำงานเสียภาษีไปเพียงอย่างเดียว อย่าไปหลงกระแส

3.ประสิทธิภาพของรัฐปรสิต ความเข้มแข็งของปรสิตจะดำเนินไปเกือบครึ่งร้อยปี และจะยังคงความจริงว่าความรุนแรงทางธรรมชาติและประสิทธิภาพในการรับมือกับน้ำท่วมแปรผกผันกัน  เพราะมีโครงสร้างการกดขี่ที่ถูกวางไว้อย่างเป็นระบบที่ยากจะแก้ไขได้ และยากที่จะมองเห็นวัตถุประสงค์แอบแฝงที่เร้นลึก  สังคมก็จะเคลิ้มไปกับการโฆษณาชวนเชื่อด้านต่างๆ ดังนี้

3.1 การแจ้งเตือนภัยแบบทำไส้กรอก (เนื้อหาตัวเดียวกัน แต่หน่วยงานแต่ละหน่วยก็จะไปแจ้งเตือนต่อเป็นทอดๆ ตามสายงานของตน เนื้อหาการแจ้งเตือนตัวเดียวก็จะถูกซอยแ่งเป็นผลงานของแต่ละหน่วยงาน ให้มีความชอบธรรมที่จะสูบเลือดสูบเนื้อคนไทยต่อไป)

3.2 การให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน

3.3 การเรียนรู้ของปรสิต ก็จะออกมาเรียกร้องความเห็นใจในความยุ่งยากซับซ้อนของงาน  ปรสิตทั้งหลายจะเอาเหตุการณ์ที่ผ่านมามาเป็นความยุ่งยากซับซ้อนของภาระงานตัวเอง มีการเพิ่มกรอบอัตราตำแหน่ง เพิ่มระดับตำแหน่งสูงขึ้น เช่น สารธารณสุขแต่ละจังหวัดจะมีผู้เชี่ยวชาญ 2-3 คน หน่วยงานอื่นๆ ก็กำลังถือเป็นต้นแบบ ทั้ังหมดที่เกิดขึ้นจะนำมาสู่การเลี้ยงดูปรสิตในระดับผู้เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัดอีกหบลายหน่วยงานแนวทางที่จะเรียนรู้ที่จะพัฒนางานให้สามารถป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันคงยากเต็มที คนไทยจะได้รับก็เพียงภาระการเลี้ยงดูที่เพิ่มขึ้น  ขอวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น  คนไทยเองเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้จากประเทศที่เขามีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง มีภาครัฐเป็นเพียงภาคที่อำนวยความสะดวก

3.4 การพัฒนาของปรสิต จะมุ่งพัฒนามาตรการเชิงโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นระเบียบกฎหมาย วัสดุอุปกรณ์  ทรัพยกรบุคคล  สร้างขยายหน่วยงาน แต่พวกปรสิตจะด้อยปัญญาในการพัฒนาการป้องกันเชิงยุทธศาสตร์มาตรการระยะยาว (เห็นเพียงน้อยนิดแต่ก็เป็นการเพิ่มชุมชนที่ตัวเองเรียกว่าใช้เดป็นฐานในการจัดการภัยพิบัติ  ที่มีตัวชี้วัดในการของบประมาณมาใช้ว่า มีจำนวนหมู่บ้านที่เป็นลูกไล่เพิ่มมากขึ้นร้อยละเท่านั้นเท่านี้  และการฝึกอบรมประช่าชนให้มาเป็นลูกไล่ตนเอง เพิ่มขึ้นร้อยละเท่านั้นเท่านี้)

คนไทยมีข้อจำกัดอะไรในการหลุดพ้นหายนะนี้

1. ติดกับดักทางวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมเป็นเรื่องของการตีความ  ไม่ใช่เป็นเรื่องของความจริงตามที่คนไทยติดกับดัก คนไทยหลงว่าตีัวเองมีหลากหลายวัฒนธรรม แต่นั่นมันเป็นวัฒนธรรมของบรรพบุรุษเมื่อ 200-300 ปีที่แล้ว  ตัวเองไม่ได้ประกอบสร้างวัฒนธรรมให้เป็นรูปธรรม

2. ประชาธิปไตยของตัวเองไม่สรรสร้างยังไม่ไม่พอยังไม่แยแสต่อประชาธิปไตยของวัตถุ ไม่สนใจว่าเขา(วัตถุ/ธรรมชาติ)ก็เป็นผู้กระทำการเช่นเดียวกับ เขามีความเสมอภาคกันในดำรงอยู่บนโลกนี้  แม้ในโลกนี้จะไม่มีความเสมอภาคกัน

————————

Proudly powered by WordPress