วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ฮัฟรูทาสาธารณภัย

Havruta (ฮัฟรูทา) เคล็ดลับสร้างศักยภาพ ด้านการเรียนแก่เด็กของชาวยิว

วิธี “ฮัฟรูทา”เป็นวิธีให้เด็กจับคู่กันเรียนในประเด็นที่น่าสนใจ พร้อมผลัดกันตั้งคำถามและอธิบายความคิดของตนเอง และใช้ทักษะในการโน้มน้าว ตั้งคำถาม โต้แย้ง แลกเปลี่ยนความคิดเชิงวิพากษ์กับคู่เรียน ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในประเด็นดังกล่าวเพราะอะไร และจบด้วยการสะท้อนความคิดของตนเองและเพื่อนเพื่อสรุปบทเรียนที่ได้รับ รวมถึงการร่วมมือกันอย่างมีวิจารณญาณเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปใหม่  อันจะทำให้เด็กรู้จักร่วมมือร่วมใจกัน ฝึกมีทักษะการคิดเชิงวิพากย์ และทักษะการเข้าสังคมเป็นอย่างดี  วิธีการเรียนรู้แบบ Havruta สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

1.การค้นหาหัวข้อที่สนใจ (examine)

2.ตั้งคำถาม (Question)

3.โต้วาที (Debate)

4.สะท้อนความคิด (Reflect)

โดยคู่เรียนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. คู่เรียนที่เก่งกว่า ซึ่งมีบทบาทคล้ายครู จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการสอนเพื่อน และเทคนิคการเรียนของตนให้ดีขึ้น

2. คู่เรียนที่อ่อนกว่า ซึ่งจะได้รับประโยชน์เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ และการหาข้อมูล

3. คู่เรียนที่มีความรู้พอกัน มีข้อดีที่ไม่สามารถอ้างได้ว่าใครเก่งกว่า ทำให้ต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตนเอง ช่วยฝึกนักเรียนให้คิดวิเคราะห์และยอมรับคำวิจารณ์ได้ดีขึ้น

ฮัฟรูทาสาธารณภัย

ชุมชนทุกชุมชนควรที่จะต้องมีกิจกรรม Havruta (ฮัฟรูทา) ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมรอบๆ ชุมชน ทั้งในวงแคบและในวงกว้าง  จะทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนการป้องกันภัยพิบัติ  โดยขั้นตอนการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก็เป็น 4 ขั้นตอนตามรูปแบบดั้งเดิมของฮัฟรูทา  แต่สำหรับคู่เรียนก็ต้องมีการประยุกต์ใหม่  ดังนี้

1.จับคู่เวียนกันภายในชุมชน

2.จับคู่กับตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.จับคู่กับชุมชนอื่นๆ  คนนอกชุมชน

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

Proudly powered by WordPress