วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

บุคลิกภาพนักจัดการภัยพิบัติ

การจัดการภัยพิบัติ ต้องใช้บุคลากรที่มีคุณภาพสูงยิ่ง และแสดงให้เห็นภาพลักษณ์ที่ดีที่สร้างความมั่นใจ ความอบอุ่นแก่ผู้ประสบภัยได้รับความศรัทธาเชื่อถือ  เกิดทัศนคติที่ดีต่อผู้พบเห็น ทำให้ประสบผลสำเร็จในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทุกคนที่พบเห็นกันครั้งแรก  จะมองการแต่งกายก่อนเป็นอันดับแรก  รองลงมาเป็นรูปร่างลักษณะทรวดทรง

คนเรามีบุคลิกภาพ 2 ประเภท คือ

    1. บุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ ทรงผม รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย การปรากฎตัว กิริยามารยาท การสบสายตา การใช้น้ำเสียง การใช้ถ้อยคำภาษา ฯลฯ

     2.บุคลิกภาพภายใน ได้แก่ ควา่มเชื่อมั่นในตนเอง ความกระตือรือร้น ความคิดสร้างสรรค์ ความรอบรู้  ความจริงใจ ความรับผิดชอบ ความจำ อารมณ์ขัน ฯลฯ

การพัฒนาบุคลิกภาพ ให้พร้อมให้เหมาะที่จะเป็นนักจัดการภัยพิบัติที่ดี ทำได้ 4 วิธี คือ

  1. วิเคราะห์ตนเอง การวิเคราะห์ตนเองมีหลักการ 4 ประการคือ การแยกแยะให้เข้าใจตนเอง รู้จักความต้องการของตนเอง ยอมรับในคุณลักษณะศักยภาพตนเอง และความสมเหตุสมผลในการพัฒนาตนเองไปให้เต็มศักยภาพของตน เมื่อเราสามารถวิเคราะห์ ตัวเราได้ เราก็สามารถพัฒนาตนไปตาม ทิศทางที่เรา ต้องการ ซึ่งในแง่ของการพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์ตนสมบูรณ์

2.ปรับปรุงแก้ไขตนเอง

2.1 ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาข้อบกพร่องที่ค้วเองมีจนขัดข้องในการปฏิบัติงานอย่างไม่ราบรื่น

2.2 การฝึกปฏิบัติตัวตามแนวทางใหม่และทำให้เกิดความเคยชินจนติดเป็นนิสัย

3. ประเมินผล  ประเมินผลว่าสิ่งที่ได้ทำตามข้อ 1-2 นั้น ดีขึ้นหรือยังไม่ก้าวหน้าอย่างไร อยู่ในระดับใด ติดขัดลักษณะใด  โดยเป็นไปตามขั้นการวิเคราะห์ตนเองใหม่ซ้ำอีก และปรับปรุงแก้ไชอีกรอบ   วนเป็นวัฏจักรตราบเท่าที่ยังมีจิตใจดิ้นรนต่อสู้  อยากเห็นความปลอดภัยปราศจากภัยพิบัติในสังคมไทย

—————————-xxxxx————————–

Proudly powered by WordPress