วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

วิพากษ์ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550

วิพากษ์ลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

1. พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550  มีเนื้อหาระบุถึงโครงสร้างองค์กร/หน่วยงานของรับ และขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตั้งแต่ระดับชาติ  ราชการส่วนภูมิภาค จนลงมาถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพิ่มส่วนพิเศษการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในกรุงเทพมหานคร http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%BB46/%BB46-20-2550-a0001.pdf

2.กฎหมายชั้น พ.ร.บ. เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นบทบัญญัติกฎหมายแม่บท  เป็นไปในทำนองว่าพ่อจ้างคนมาทำหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในบ้านของตนเอง

3. ข้อดี

3.1 (ข้อดีของรัฐราชการ)ดูเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจว่าจะปลอดภัย(นะจ๊ะ) อาณาจักรรัฐราชการใหญ่โตเข้มแข็ง (ฉิบหาย)

3.2 (ข้อดีของประชาชน) พอจะมีคนมาบีบแข้งบีบขาให้สบายแม้ในใจจะแช่งให้พินาศ(จะได้งายละวุ๊ย) มีคนล่อหลอกให้คลายความกังวล (แม้จะเป็นคำลวงทั้งสิ้น)

4. ข้อเสีย  เป็นการบริหารงานของรัฐราชการเป็นใหญ่ (พิเศษยิ่ง โดยอ้างเร่งด่วน  อ้างฉุกเฉิน จะสามารถละเว้นระเบียบเดิมๆ อีกหลายข้อที่สำคัญ)

วิพากษ์ลักษณะที่ควรจะเป็นของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

1. ลักษณะเนื้อหาที่เป็นอยู่  ควรจะไปตราเป็นกฎหมายชั้นรอง คือ อนุบัญญัติกฎหมายลูก  และถ้าจะดียิ่งขึ้นให้เป็นกฎกระทรวงจะมีประสิทธิภาพมากกว่า (กฎหมายที่ออกโดยสามัญชน) ทั้งนี้ จะต้องเปลี่ยนธรรมเนียมการออก พ.ร.บ.หรือตราไว้ใน พ.ร.บ.

2. ลักษณะเนื้อหาที่ควรจะบรรจุใน พ.ร.บ.ปภ.

2.1 ระบุวิธีดำเนินการที่รัฐจะจัดหาเพื่อให้สิทธิผู้ประสบความเสี่ยงภัยได้เรียนรู้ (ป้องกัน) และระบุวิธีดำเนินการที่รัฐจะช่วยเหลือผู้ประสบภัย บำบัดภยันตรายให้ประชาชน

2.2 ระบุการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไร รวมทั้ง ช่องทางการมีส่วนร่วมกัยภาครัฐ (ปัจจุบัน เป็นเพียงวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์หนึ่งให้ภาครัฐ)

2.3 ระบุช่องทางการตรวจสอบจากภาคประชาชน (ร้องเรียนให้หน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว เข้ามาตรวจสอบยาก ต้องมีหลักฐานที่ปรากฎชัด (ที่แดกกันอยู่ ข้อมูลอยู่ในวงใน))

2.4 ระบุหน้าที่และการแสดงออกในพื้นที่ของผู้เปราะบาง ผู้อยู่ในความเสี่ยง และผู้ประสบภัย  รวมทั้งบทลงโทษ

2.5 ระบุขอบเขตสิทธิเสรีภาพ กรอบความคุ้มครองเสรีภาพ ความเป้นอืสระของพื้นที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

———-xxxxxx———–

3.

Proudly powered by WordPress