วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การควบคุมโรคระบาดกับการควบคุมพื้นที่

จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาดในประเทศไทย ในช่วงเวลา 3 ปี (2563-2565)  โดยใน 2 ปีแรก รัฐราชการไทยได้มุ่งเน้นใช้มโนทัศน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดโดยการควบคุมพื้นที่ทางกายภาพ (เป็นการดำเนินงานในระบบราชการ 0.4 ทั้งที่ได้ประกาศนโยบายประเทศไทย 4.0 มุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ควบคู่กับใช้มโนทัศน์ตีตราจริยธรรมและมโนทัศน์จรรโลงความเหลื่อมล้ำทางสังคม อีกทั้งโฆษณาชวนเชื่อว่าตนเองประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับของนานาชาติอีกด้วย (สถาบันคลุมสมอง TDRI เป็นหน่วยงานที่ออกรายงานผลการศึกษา) จนปี 2565 แม้สถานการณ์จะติดเชื้อวันละ พันวันละหมื่นคนรัฐบาลก็ไม่สามารถนำบทเรียนการระบาดระลอกใหญ่ 4 ครั้งที่ผ่านมามาเป็นบทเรียนสำหรับการคิดออกแบบระบบใหม่ในการบริหารจัดการภาครัฐ การมองอย่างองค์รวมของปัญหาที่ ส่งผลกระทบต่อกันและกัน ออกแบบระบบสวัสดิการพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพที่เกิดประโยชน์ถ้วนหน้า

โรคระบาดกับพื้นที่ทางกายภาพ

เครื่องมือที่ใช้ในพื้นที่ทางกายภาพเพื่อควบคุมโรคระบาด ตามมโนทัศน์รัฐราชการ 0.4 คือ

1.ปิดพื้นที่การแพร่ระบาดในอดีต

2.ประกาศพื้นที่เสี่ยง

3.ปิดพื้นที่ที่คนมารวมตัวกันมากๆ เช่น สถานบริการกลางคืน โรงเรียน มัสยิด ร้านอาหาร

4.กำจัดปริมาณ/ความหนาแน่นคนเข้าสภานที่

5.จำกัดช่วงเวลาคนมาอยู่บนพื้นที่สาธารณะ

โรคระบาดกับพื้นที่ทางสังคม

ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจแต่ก็ส่งผลให้เกิดการจรรโลงความเหลื่อมล้ำทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในพื้นที่ทางสังคมเพื่อควบคุมโรคระบาด ตามมโนทัศน์รัฐราชการ 0.4 คือ

1.การตีตราทางสังคม

2.มาตรการกีดกันทางสังคม

3.ใช้อำนาจกำหนดกระแสสังคม

โรคระบาดกับพื้นที่ทางใจ

ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจแต่ก็ส่งผลให้เกิดการตีตราจริยธรรม เครื่องมือที่ใช้ในพื้นที่ทางใจเพื่อควบคุมโรคระบาด ตามมโนทัศน์รัฐราชการ 0.4 คือ

1.การใช้ภูมิทัศน์การสื่อสารใหม่ที่เน้นศีลธรรมฝูงสัตว์

2.ความเชื่อทางศาสนาที่บิดเบือนตื้นเขิน

3.ความเชื่อมั่นภาครัฐ/การปกครอง

บทสรุป

จากการดำเนินนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลดิจิทัล 4.0 มิเพียงแต่จะไม่สามารถนำสู่ความยั่งยืนหรือลดความรุนแรงของการแพร่ระบาดให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ แต่กลับเป็นการผลิตซ้ำการแพร่ระบาดของโรคของภาครัฐ การให้บริการพื้นฐานทางด้านสุขภาพก็ล่าช้าและขูดรีด ทั้งที่กู้เงินมาแก้ไขปัญหา 1 ล้านล้านบาท ใจนสถานะการคลังของประเทศในปี 2565 ในหนึ่งวันคนไทยต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้วันละ 600 กว่าล้านบาท

ราชการส่วนภูมิภาคก็มีหน้าที่บิดเบือนความรุนแรงของการแพร่ระบาด สนับสนุนความอ่อนเปลี้ยของราชการส่วนกลาง อีกทั้งกดทับศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพของคนในพื้นที่

———–xxxxxxxxxxxxxx————-

Proudly powered by WordPress