วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การรับมือพายุเชิงปัจเจกบุคคล : การรู้จักพายุ

เมื่อเราฟังการรายงานข่าวจากสื่อมวลชน หรือฟังการรายงานแจ้งเตือนพายุจากหน่วยงานราชการเกี่ยวกับพายุ เราจะต้องทราบว่าพายุจะมีอันตรายเพียงใด มีการเตรียมพร้อมเบื้องต้นของปัจเจกบุคคลอย่างไร ในที่นี้จึงขอแบ่งประเภทพายุในพื้นที่ประเทศไทยตามอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. พายุที่เป็นอันตรายทันที

2.พายุที่อาจเกิดผลกระทบขึ้นภายหลัง

1. พายุที่เป็นอันตรายทันที คือ พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone)

พายุหมุนเขตร้อน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 กม. ขึ้นไป เริ่มต้นเกิดขึ้นบริเวณผิวน้ำทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียสในเขตเส้นศูนย์สูตร ลมที่พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางจะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกาหากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร และจะหมุนตามเข็มนาฬิกาหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลมตั้งแต่ 118 กม.ต่อช่วโมงขึ้นไป และพายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามช่วงความเร็วลมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

1.1 พายุดีเปรสชั่น (Tropical depression)
เกิดขึ้นจากพายุโซนร้อนที่มีความเร็วลดลง โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 63 กม./ชม. (34 นอต) ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก มีลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว มีกำลังไม่แรงพอที่จะทำลายบ้านเรือนได้ แต่ถ้ามีฝนตกหนักมากๆ อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมได้

ส่วนใหญ่พื้นที่ประเทศไทยจะเกิดพายุนี้ เนื่องจากพายุโซนร้อนได้อ่อนกลำงลงเมื่อขึ้นฝั่งมาประมาณ 100 กม.

1.2 พายุโซนร้อน (Tropical storm)
เกิดขึ้นเมื่อพายุหมุนเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลงขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 63 กม./ชม.ขึ้นไป (34 นอต) แต่ไม่ถึง 118 กม./ชม. (64 นอต) มีกำลังแรงพอที่จะทำลายบ้านเรือนที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรงได้ รวมทั้งทำให้กิ่งไม้หักโค่น และทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ฝนที่ตกอย่างหนักทั้งวันทั้งคืนอาจทำให้เกิดน้ำป่าและแผ่นดินถล่มได้

1.3 พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอริเคน (Typhoon or Hurricane)

มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 118 กม./ชม. ขึ้นไป (64 นอต) มีระดับความรุนแรงมากที่สุด สามารถทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน อาจทำให้เสาไฟฟ้าหักโค่น เกิดไฟฟ้าช็อตหรือเพลิงไหม้ได้ ในทะเลมีคลื่นลมแรงจัดมาก เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ โดยเฉพาะเรือเล็ก และอาจมีคลื่นใหญ่ซัดชายฝั่ง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากจนท่วมอาคารบ้านเรือนริมทะเลได้

2. พายุที่อาจเกิดผลกระบขึ้นภายหลัง (น้ำท่วม นำัหลาก ดินโคลนถล่ม) คือ พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm)

เมื่ออากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้น และมี ไอน้ำในปริมาณมากพอ ประกอบกับการลดลงของอุณหภูมิ จึงเกิดการกลั่นตัวควบแน่นของไอน้ำ เกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง มักจะมีทั้งลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และมีฝนตกหนัก เกิดขึ้นพร้อมกัน

 

——————————555—————————–

 

Proudly powered by WordPress