วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การมีส่วนร่วมภัยพิบัติ : ความสำคัญของเด็ก

เด็กๆ ที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ขึ้นไปไม่ควรมองว่าเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดในการบริหารจัดการภัยพิบัติ เด็กที่มีอายุมากกว่า 10 ปี มีศักยภาพในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภัยพิบัติได้หลายๆ ประเด็น เช่น

1.เป็นผู้บ่งชี้ได้

2.เป็นผู้ประมินสถานการณ์ได้

3.มีส่วนร่วมในการดำเนินการลดผลกระทบจากสาธาณณภัยที่เกิดขึ้นได้

ดังนั้น สิ่งที่ไดโนเสาร์จะต้องดำเนินการ คือ

1.สร้างโอกาสและเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ  ผู้ใหญ่ควรจะหยุดพูดประโยคที่ว่า ‘นี่ไม่ใช่เรื่องของเด็ก’ การประเมินสถานการณ์และการให้เด็กๆและชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอพร้อมกับสอบถามพวกเขาด้วยว่ายินดีที่จะได้รับการสนับสนุนในรูปแบบใดเพื่อที่จะได้ให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆ  “การเข้าให้ความช่วยเหลือในช่วงภัยพิบัตินั้นไม่ควรกระทำ ไปโดยสร้างเงื่อนไขที่เป็นการบังคับผู้ได้รับผลประโยชน์” ในช่วงที่เกิดภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นช่วงที่อยู่ในสภาวะฉุกเฉินหรือในช่วงฟื้นฟูก็ตาม เด็กๆย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นการนำ เด็กๆเข้ามามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมหรือการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติจึงเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะลดผลกระทบต่อภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต การเตรียมตัวให้เด็กๆไม่ว่าจะเป็นการเติมความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติไม่เพียงแค่เพื่อให้พวกเขาเอาตัวรอดได้เท่านั้นแต่ยังสร้างพวกเขาให้เป็นผู้ริเริ่มช่วยเหลือทั้งครอบครัวและชุมชน อีกทั้งสร้างเสริมทักษะความเป็นผู้นำในเด็กเพื่อให้ในอนาคตข้างหน้าเมื่อพวกเขาต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำ บากอื่นๆในชีวิต

2.สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กๆ ด้านภัยพิบัติ  เช่น ค่ายอบรม การออกแบบสื่อรณรงค์และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในเขตชุมชนเมือง  การประกวดนวัตกรรมลดความเสี่ยงภัยพิบัติ การดับเพลิงรูปแบบต่างๆ

Proudly powered by WordPress