วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ภัยพิบัติ : การซ้ำเติมจากทรรศนะชนชั้นวรรณะ

ประเทศไทยมีการแบ่งแยกทางสังคมเป็นพื้นฐานมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากกับการจัดการภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพ ด้วยความเป็นธรรมและยั่งยืน  รากความเป็นมามาจากระบบวรรณะ  ตำ่สุดก็เป็นประชาชน เรียกว่าไพร่ ตำ่กว่านั้นก็ทาส

ระบบการเมืองการปกครองตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มีแนวทางและกลไกที่กดประชาชนให้ลงเป็นทาส  ต่างชาติเขาพัฒนาจากรากฐานเช่นเดียวกับเรา  แต่เขาไม่ยอมรับอำนาจการปกครองแบบเผด็จการของชนชั้นทำให้มีการพัฒนามากกว่าไทย

การไม่เคารพความเป็นมนุษย์ในกลไกการจัดการภัยพิบัติอันเกิดจากทัศนคติของบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและผู้บริหารประเทศ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการดำเนินกิจกรรมการจัดการภัยพิบัติ  ทำให้เกิดบาดแผลทางสังคมขึ้น ดังนี้

1.ขาดความเชื่อถือในหน่วยงานภาครัฐ

2.ขาดความน่าเชื่อถือต่อหลักการ เช่น หลักนิติธรรม  หลักนิติรัฐ

3.ขาดความเข้าในในการปรับวิถีชีวิตทำให้สร้างวัฒนธรรมใหม่ เรียกว่า “วัฒนธรรมวิบัตินิยม”

 

———————————————————–

 

 

 

 

Proudly powered by WordPress