วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

พฤติกรรมกำเหนิดภัยพิบัติ

ทุกวินาทีเราก่อพฤติกรรมที่เป็นต้นเหตุแห่งภัยพิบัติ และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า พฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดหายนะที่เราทำกันอยางขาดความระมัดระวังขาดความตระหนัก ดังนี้

 

รายการ

ค่าเฉลี่ย

SD.

ค่าความเบ้

ค่าความโด่ง

Alpha if Item deleted

1.การใช้สารเคมีและฝังกลบสารเคมี

6.3

1.89

-1.1

-2.8

0.51

2. การผลิต CO2

6.4

1.85

0.05

-2.4

0.39

3. การทำลายหน้าดิน

5.9

1.64

0.19

-0.33

0.47

4. ความไร้ยางอายต่อความปลอดภัย

5.8

1.59

0.03

0.22

0.47

ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อถือได้ของมาตรวัด = 0.53

 

1. การผลิต CO2 (รอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint))

จากผลการศึกษา เป็นพฤติกรรมที่เป็นต้นกำเหนิดของภัยพิบัติที่คนไทยกระทำมากที่สุด กิจกรรมมากมายที่ก่อให้เกิด      CO2  โดยเฉลี่ยคนไทยแต่ละคนจึงสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 3.9 ตัน*  แม้แต่การเสิร์ชกูเกิ้ล 1 ครั้งจึงสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างน้อย 0.35 กรัม การคุยโทรศัพท์ 1 นาทีสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น 57 กรัม การดูทีวีจอแบนขนาด 32 นิ้วเป็นเวลา 1 ชั่วโมงสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 97 กรัม https://workpointnews.com/2020/02/03/how-much-co2-human-activities-generate/การกระทำดังกล่าว จะส่งผลกระทบตามมาอย่างร้ายแรง ใน 2 ประเด็น คือ

1.1 จากการได้รับพิษจากการหายใจ Carbon monoxide มีความสามารถแย่ง oxygen จับกับ hemoglobin ได้ดีกว่า oxygen ประมาณ 245 เท่า ทำให้มีปริมาณ oxygen ในโมเลกุลของ hemoglobin ลดลง เกิด carboxyhemoglobin ทำให้ oxygen dissociation curve เลื่อนไปทางซ้าย การปลดปล่อย oxygen ให้สู่เนื้อเยื่อลดลงมากกว่าภาวะพร่อง oxygen จากภาวะซีด หรือ มี deoxyhemoglobin สูง นอกจากนั้น carbon monoxide มีผลยับยั้ง cytochrome oxidase ทำให้ขบวนการถ่ายทอดอิเลคตรอนในวงจรการหายใจของเซลล์ไม่ทำงาน แต่มีฤทธิ์ไม่รุนแรงเท่า cyanide https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/gas/co

1.2 จากการเพิ่มปริมาณในบรรยากาศ https://www.voathai.com/a/a-47-2009-07-31-voa7-90648749/922555.html จะทำให้มนุษย์ได้รับอันตราย ต่างๆ  เช่น ฝนกรด อุณหภูมิโลกสูงขึ้น นำ้ท่วมน้ำแล้ง สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

2. การใช้สารเคมีและฝังกลบสารเคมี

เป็นพฤติกรรมที่คนไทยกระทำมากรองลงมาจากการผลิต CO2 การฝังกลบยังมีกฎระเบียบให้ดำเนินการมาตรฐานความปลอดภัยในกลุ่มงานเฉพาะที่ไม่กว้างขวางเพียงพอต่อความปลอดภัย    http://www2.diw.go.th/I_Standard/Web/pane_files/Industry20.asp

3. การทำลายหน้าดิน

การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดินและที่ดิน เช่น การปลูกข้าวทำนาบนพื้นที่ดอนและดินเป็นทรายมากข้าวจะเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากดินไม่สามารถอุ้มน้ำทำให้พืชได้ใช้ ดินเค็มควรหาพืชชนิดทนเค็มมาปกคลุมดิน และใช้ประโยชน์ทำนาเฉพาะพื้นที่ต่ำที่มีน้ำสนับสนุน น้ำจะเป็นตัวละลายเกลือให้ออกไปจากพื้นที่  การทำลายหน้าดิน นอกจากจะก่อให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินทำให้ใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ลดน้อยลง และความสามารถในการผลิตทางด้านเกษตรลดน้อยลงแล้ว ยังทำให้เกิดภัยพิบัติด้านต่างๆ ตามมา เช่น

3.1 การทับถมของตะกอนดินตามแม่น้ำ ลำคลอง เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เป็นเหตุให้แหล่งน้ำดังกล่าวตื้นเขิน ก่อให้เกิดภัยแล้ง  และนำ้ท่วมรุนแรง  หรือมีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมสูง  เกิดสภาพน้ำไหลเปลี่ยนทิศทางไปจากทางเดินน้ำเดิมได้ง่ายขึ้นเมื่อฝนตกหนัก

3.2 การปนเปื้อนของสารเป็นพิษนานาชนิดในดิน เช่น มีโลหะหนัก มีสารประกอบที่เป็นพิษ ซึ่งนอกทำให้ดินเค็ม ดินด่าง ดินเปรี้ยวแล้ว การดำเนินกิจกรรมเพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างไม่เหมาะสม และขาดการจัดการที่ดี เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำในบริเวณที่มีเกลือหินสะสมอยู่มาก น้ำในอ่างจะซึมลงไปละลายเกลือหินใต้ดิน แล้วไหลกลับขึ้นสู่ผิวดินบริเวณรอบๆ การ ผลิตเกลือสินเธาว์ในเชิงพาณิชย์ โดยการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาต้มหรือตาก ทำให้ปัญหาดินเค็มแพร่ขยายออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น ยังมีสาเหตุที่เกิดจากสารพิษและสิ่งสกปรกจากภายนอกปะปนอยู่ในดิน เช่น ขยะจากบ้านเรือน ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีตกค้างจากการใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ

3.3 เกิดดินโคลนถล่ม น้ำ้ป่าไหลหลากได้ง่ายขึ้น

4. ความไร้ยางอายต่อความปลอดภัย

ธรรมดาของมนุษย์ที่พฤติกรรมไร้ยางอายทำได้ง่ายเหมือนดีดลูกคิด แต่พฤติกรรมไร้ยางอายที่เป็นกำเหนิดภัยพิบัติ เป็นการไร้ยางอายที่ใช้วิธีการอันธพาลที่สุดให้คำตอบแก่โลก  เน้นที่วิธีการอันธพาล  ไม่เป็นที่นิยมของสังคมโดยรวมส่วนใหญ่  หรือหลักความปลอดภัย

——————-5555——————–

Proudly powered by WordPress