วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การวิจัยจากงานประจำด้านสาธารณภัย มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะมีประเด็นให้ศึกษาได้อย่างกว้างขวาง โดยครอบคลุม 18 ประเภทภัย ในแต่ละประเภทภัยก็มีกลุ่มเนื้อหาที่หลากหลาย และสามารถดำเนินการได้ทั้ง

1.การวิจัยเชิงปริมาณ

2.การวิจัยเชิงคุณภาพ

3.การวิจัยเชิงบูรณาการ

โดยมีหลักการวิจัยแต่ละชนิด ดังนี้

1.การวิจัยเชิงคุณภาพ

มีประเด็นหลักอยู่ 3 ส่วนสำคัญ คือ

1.1 ศึกษาข้อมูลสภาพความเป็นจริง/สถานการณ์ภัยพิบัติที่เราทำงานเกี่ยวข้องอยู่ประจำ/จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาข้อมูลสภาพความเป็นจริง ใช้ 2 วิธีการ คือ http://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2017060214303218.pdf

1)ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์

2)ใช้วิธีศึกษาทางทฤษฎีรวบรวมข้อเท็จจริง

1.2 การตีความหมาย http://www.anantakul.net/learning/Qualitative_Research.pdf การตีความหมาย ใช้ 2 วิธีการ คือ

1)ใช้ทฤษฎีและความรู้

2)ใช้การวิเคราะห์อธิบายความ

1.3 ชี้นัยสำคัญออกมา https://edu.msu.ac.th/jem/home/journal_file/240.pdf การชี้นัยสำคัญจากผลของกระบวนการตามข้อ 1.1 -1.2 ผู้ชี้นับสำคัญเป็นคนสังเคราะห์จากพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ โดยอาศัยความรู้ทางสังคมเชื่อมโยง การสรุปผลการวิจัยเชิงคุณภาพ จะต้องมีืั้ง 3 ประเด็นนี้เสมอ  และทำอยู่ 2-3 รอบ จึงสรุปผลการวิจัย


2.การวิจัยเชิงปริมาณ  http://www.research.nu.ac.th/th/signup/hen6/yupa.pdf มีประเด็นหลักอยู่ 4 ส่วนสำคัญ คือ

1.ตั้งสมมติฐาน (จากข้อเท็จจริงในงานประจำ)

2.การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน

3.เก็บรวมรวมข้อมูลตามเกณฑ์จำนวนตัวอย่างมาตรฐาน

4.ใช้ทฤษฎีการคำนวณวิเคราะห์ข้อมูล

เมื่อผลการคำนวณออกมาอย่างไรก็สรุปผลการวิจัยตามผลการคำนวณ


3. การวิจัยเชิงบูรณาการ http://sitawan112.blogspot.com/2011/03/blog-post_8637.html

ผสมผสานการวิชัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และสรุปผลการวิจัยในประเด็นที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน

—————–555——————