วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ผลประโยชน์จากสังคมตาบอด เมื่อทรัพยากรน้ำอยู่ในมือเด็ก

แม้ประเทศไทยจะประสบอุทกภัยครั้งใหญ่หลายครั้งหรือเกิดภัยแล้งก็ตาม แต่ทุกครั้ง  ก็ยังเห็น ความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของการแบ่งปันทรัพยากร  ดูเหมือนการรับรู้ความไม่เป็นธรรมแทบจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใดๆ ราวกับว่าจิตสำนึกของผู้คนได้สยบยอมอย่างเชื่องๆ ต่อสถานการณ์ความไม่เป็นธรรม

ปัญหาอุทกภัยเป็นอีกปัญหาที่มีลักษณะของความไม่เป็นธรรมเริ่มตั้งแต่กระบวนการกำหนดนโยบายกำหนดแผนยุทธศาสตร์  มาจนถึงการดำเนินการมีส่วนร่วมในพื้นที่ อีกทั้ง ลักษณะของปัญหาก็รุนแรงกว้างขวางส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งของสังคมไทย ที่ต้องมาทะเลาะกัน เพราะความไม่เป็นธรรมในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการแก้ปัญหาอุทกภัย

แม้เสียงจากความไม่เป็นธรรมจะถูกพูดถึงและถูกทวงถามจากประชาชนที่ยังได้รับความเดือนร้อนจากน้ำท่วมจะยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นบทเรียนราคาแพงที่รัฐบาลต้องมองปัญหานี้ให้ทะลุปรุโปร่ง  ในหลายมิติมากขึ้น  ไม่ใช่ต่างคนต่างคิดทำงานกันไปคนละเรื่อง นานวันก็ยิ่งบานปลาย เช่นบอกว่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม. แต่กลับไม่เคยพูดถึงบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ด้านบน ที่แช่น้ำนานเป็นเดือนๆ ชาวบ้านถูกน้ำท่วมก็ว่าเลวร้ายแล้ว แต่ยังมีความขัดแย้ง ความคับแค้นใจมาซ้ำเติมปัญหาให้แย่ไปอีก”

ความยุติธรรมที่ยังมีคนน้ำท่วมและมีการฉลองบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ว่า เป็นความอยุติธรรมที่สื่อมวลชน มีส่วนร่วมในการทำให้เรื่องของความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างไม่ละอายแก่ใจ เพราะในความไร้น้ำใจที่สื่อมวลชนเองก็ไม่มีมนุษยธรรมของตัวเอง เพราะถ้าสื่อไม่ออกสื่อเรื่องขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้น และความเจ็บแค้นของคนที่ยังแช่น้ำอยู่ก็จะไม่เกิดขึ้นด้วย ยังรวมไปถึงความไม่ยุติธรรมในการฟื้นฟูเยียวยาในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีโครงสร้างมากมายในการเข้าไปรองรับการกู้อุตสาหกรรม ขณะนี้ก็ยังไม่ปรากฎการณ์โครงสร้างในการ กอบกู้ภาคเกษตรกรรมเลยแม้แต่นิดเดียวจึงกลายเป็นคำถามว่าความยุติธรรมอยู่ที่ไหน การปล่อยให้ชาวประมงรายย่อยตามชายน้ำที่กำลังเน่าเสีย ชาวบ้านต้องสูญเสียอาชีพและหอยที่ชาวบบ้านเลี้ยงที่อ่าวไทยต้องตายเกลี้ยง โดยที่ชาวบ้านไม่มีโอกาสรู้ล่วงหน้า ไม่มีโอกาสเตรียมตัว มองว่าเป็นความอยุติธรรมของโครงสร้างสังคมไทยที่ถูกปล่อยปละละเลย ซึ่งเรายอมไม่ได้อีกแล้ว

แม้แต่สื่อมวลชนก็มีน้อยมากที่จะให้ความสนใจกับเรื่องนี้ และนี่คือความอยุติธรรมที่เราเห็นได้จากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ การให้ความยุติธรรมในเรื่องการจัดสรรน้ำกับภาคการเกษตรมีน้อยมากและให้ความสำคัญลำดับท้ายๆ เพราะต้องถูกใช้ไปในส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรม ขณะที่เกิดปัญหาอุทกภัยใน การจัดสรรน้ำท่วม กลับให้ภาคการเกษตรเป็นพื้นที่รับน้ำท่วมก่อนใครทั้งๆที่พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่กลับไม่ถูกปกป้อง มองว่าปัญหาความขัดแย้งของชาวบ้านกับชาวบ้าน รัฐกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับเอกชน บนคันกระสอบทราย หรือเขื่อนกั้นน้ำ เกิดจากความไม่ยุติธรรมในการจัดสรรคน้ำท่วมที่เน้นให้เมืองหลวงรอดพ้นภัยพิบัติ ทั้งๆเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ

แต่ก็ยังมีการก่อสร้างอะไรมากมาย มากระจุกตัวจนขวางทางน้ำ เพียงเพราะต้องการให้เป็นเมืองท่า อย่างเช่น เอานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาตั้ง สร้างศูนย์โลจิสติก แม้แต่อุทกภัยครั้งนี้ก็สร้างเขื่อนล้อมตัวเองและเอาน้ำไปให้พื้นที่อื่น ซึ่งหมายถึงพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นปัญหาจากการจัดน้ำหนักในการดูแลพื้นที่ที่ต่างกัน”โดยเธอยังบอกอีกว่า เหตุการณ์น้ำท่วมแม้จะมีปัญหาความไม่เป็นธรรมต่อภาคการเกษตร แต่ก็อาจทำให้คนเริ่มเข้าใจมากขึ้น

———————–55555—————————

Proudly powered by WordPress