วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

อุบัติเหตุทางถนน : ปริมาณการรับรู้ท้านรกบนถนน

มนุษย์ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ และไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ย่อมมีการรับรู้อยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ หนึ่งรับรู้ด้วยอายตนะ 6 (วิญญาณรู้)  สองรับรู้ด้วยสัญญา สามรับรู้ด้วยปัญญา

พฤติกรรมการรับรู้ เป็นกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องจากการรู้สึกสัมผัสรับรู้ เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่ผ่านเข้ามาในกระบวนการรู้สึก เมื่อเครื่องรับหรืออวัยวะรับสัมผัส สัมผัสสิ่งเร้า เราจะเกิดความรู้สึกแล้วส่งความรู้สึกนั้นไปตีความ หรือแปลความหมายกลายเป็นปัญญา

1.รู้แบบสัญญารู้

รู้จากการจดจำได้ การศึกษานี้วัดจาก 2 ปัจจัย คือ รู้ความหมายสัญญาณและเครื่องหมายจราจรต่างๆ  และรู้ระเบียบกฎหมายจราจรที่กำกับควบคุมพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย

2.รู้แบบวิญญาณรู้

รู้จากการรับอายตนะ การศึกษานี้ วัดปริมาณการรับรู้ 4 ปัจจับ ได้แก่ รับรู้ทางตา  รับรู้ทางหู  รับรู้ทางจมูก และรับรู้จากการนึกคิด

3.รู้แบบปัญญารู้

มีการแปลความหมายอย่างสมเหตุสมผลตามความเป็นจริง  ทำให้พฤติกรรมการขับขี่คาดว่าจะไม่มีอุบัติเหตุ ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น

ผลการศึกษาการรับรู้บนท้องถนนของผู้ใช้รถใช้ถนนในเมืองไทย ที่สื่อมวลชนต่างประเทศและองค์กรนานาชาติได้ให้ฉายาถนนในเมืองไทยว่า “เป็นพื้นที่แห่งการฆ่า” การรับรู้ของผู้ที่ขับขี่อยู่ในพื้นที่การฆ่าแห่งนี้จะมีการรับรู้เป็นเช่นไร  จากศึกษากลุ่มตัวอย่าง 450 คน      มีผลการศึกษาเป็นไปตามตารางสถิติพรรณาปริมาณการรับรู้ ดังนี้

รายการ

ค่าเฉลี่ย

SD.

ค่าความเบ้

ค่าความโด่ง

Alpha  if Item delete

ตัดหน้ากระชั้นชิด

4.5

1.1

0.04

0.04

0.51

ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร

3.8

1.6

0.02

-0.05

0.58

ขับรถน่าหวาดสียว

1.9

1.1

0.03

0.31

0.53

อื่นๆ

0.03

1.3

0.04

0.3

0.40

ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด = 0.54

จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น  พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ใช้รถใช้ถนนรับรู้แบบวิญญาณรู้เท่านั้น  และรับรู้ในปริมาณที่น้อยด้วยที่ในแต่ละวันที่ได้ประสบ  การรับรู้แบบปัญญารู้ และแบบสัญญารู้พบได้น้อยนิดเพียงร้อย 0.03  ซึ่งเป็นการรับรู้ที่จะเกิดท้องถนนแห่งความสุขท้องถนนแห่งรอยยิ้ม  ผู้ใช้รถใช้ถนนยังไม่ซึมซับการรับรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมฆาตกรบนท้องถนน

———————————————-666666666666———————————————–

Proudly powered by WordPress