วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สาธารณภัยกับวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด

รากลึกๆ ของการลอยนวลพ้นผิด

ลอยนวลพ้นผิดจากการไม่มีความรับผิดชอบต่อผลของการทำงานตามภารกิจอำนาจหน้าที่ยังพอที่จะอยู่ร่วมกันอย่างพอจะพูดจากันได้ ให้ขับเคลื่อนไปสู่ความผาสุกร่วมกันในระดับที่ยอมรับกันได้

ระดับของการลอยนวลพ้นผิดในประเทศไทย มี ๔ ระดับ คือ

1. ไม่รู้ตัว

2. รู้ตัวแต่ไม่มีความสามารถที่จะปรับพัฒนาตัวเองได้

3. รู้ตัวแต่เพิกเฉยต่อการปรับปรุงพัฒนา

4. รู้ตัวพร้อมฉกฉวยโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและองค์กร

ผู้ประสบสาธารณภัยเหยื่อของการลอยนวลพ้นผิด

สถานะของผู้ประสบสาธารณภัยในประเทศไทย อยู่ภายใต้ระดับการลอยนวลพ้นผิด ระดับที 4 ซึ่งเป็นระดับที่ร้ายแรงสูงสุด มีผลกระทบต่อพัฒนาการของคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศไทยสูงสุด แม้จะมีระดับ 1-3 แฝงตัวอยู่ แตก็อยู่ภายใต้การควบคุมของระดับการลอยนวลพ้นผิดในระดับ  4

ทั้งนี้ ระดับ 1-3 จะแฝงอยู่ในระดับการปฏิบัติหรือการทำงานให้บริการความปลอดภัยแก่ประชาชนในหลายๆ ระดับที่ตำ่กว่าระดับหัวหน้าหน่วยงาน จะแยกระดับความเป็นเหยื่อของผู้ประสบภัยได้ 3 ระดับ คือ

1. เป็นเหยื่อจากความบริสุทธิ์ใจของผู้ล่า /ปรสิต / ผู้น่ารังเกียจ

ซึ่งจะมีสถานะ/ตำแหน่งในระดับผู้ปฏิบัติการ  ยัดเยียดความเป็นเหยื่อให้ประชาชนในระดับการลอยนวลพ้นผิดแบบไม่รู้ตัว หรือระดับรู้ตัวแต่ไม่มีความสามารถที่จะปรับพัฒนาตัวเองได้

2. เป็นเหยื่อจากความเห็นแก่ตัวของผู้ล่า /ปรสิต / ผู้น่ารังเกียจ

ซึ่งจะมีสถานะ/ตำแหน่งในระดับ ยัดเยียดความเป็นเหยื่อให้ประชาชนในระดับการลอยนวลพ้นผิดแบบรู้ตัวแต่ไม่มีความสามารถที่จะปรับพัฒนาตัวเองได้ และแบบรู้ตัวแต่เพิกเฉยต่อการปรับปรุงพัฒนา

3. เป็นเหยื่อจากความอำมหิตของผู้ล่า /ปรสิต / ผู้น่ารังเกียจ

ซึ่งจะมีสถานะ/ตำแหน่งในระดับผู้บริหารระดับสูง จะยัดเยียดความเป็นเหยื่อให้เราด้วยการวางรูปแบบการล่าในโครงสร้างสังคม ภายใต้ความรู้ตัวพร้อมฉกฉวยโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและองค์กร

เปลี่ยนสนามการล่าให้เป็นสรวงสวรรค์

เหยื่อหรือผู้ประสบสาธารณภัยไม่มีอำนาจ ไม่มีความหมาย ไร้ค่าในสายตาผู้ล่า /ปรสิต /ผู้น่ารังเกียจ อย่างนั้นหรือ เราเปลี่ยนสนามการล่าได้แค่เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนวิธีคิดว่าเราไม่ใช่เหยื่อแค่นั้นเอง

————xxxxxxxxxxxxxxxxx——————-

Proudly powered by WordPress