วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ปัญหาความไร้ประสิทธิภาพของรัฐที่ปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติ

เยาวชนเห็น รัฐปรสิตไม่เห็น

ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐ ที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์วิกฤต หากมองเปรียบเทียบกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ พอจะเห็นรูปแบบ/พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของความไร้ประสิทธิภาพ ดังนี้

1. คนภายในรัฐปรสิตจะติดกรอบเวลา เจ้าหน้าที่บางคนจะถูกครอบงำอยู่ภายในกรอบเวลาของรัฐปรสิตตลอด 24 ชั่วโมง เสพสื่อเก่าที่มีโครงสร้างวิธีคิดและเนื้อหาที่เคยเป็นมา(ซึ่งยุคนี้ก็ต้องเรียกยุค 3 ป.+ยุคอยุธยา) เยาวชนจะไม่มีกรอบเวลามองย้อนหลัง มองไปข้างหน้าได้เป็นอนันต์ด้วยเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร

2. รัฐปรสิตมีลำดับขั้นตอนที่ล้าหลังในการตัดสินใจขับเคลื่อน  เยาวชนไม่มีลำดับขั้นตอนที่จะขับเคลื่อน

3. ความสามารถในการสร้างการมีส่วนร่วม เจ้าหน้าที่รัฐปรสิตจะมองการมีส่วนร่วมคือมาเป็นลูกมือกับโครงการ/แผนงานของตัวเอง  ส่วนเยาวชนมองการมีส่วนร่วมคือการสร้างกระแสร่วมกัน (การรับรู้และแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูล การแสดงความเห็น แสดงความพึงพอใจและไม่พอใจ ให้คำเสนอแนะ แบ่งปันและปิดประกาศ (Post))

4.รัฐปรสิตไม่สามารถตั้งคำถามกับตัวเองได้ (ยึดคติที่ว่ารู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดีหรือตั้งได้ก็พยายามปกปิดด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น พวกธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ตั้งคณะกรรมการประเมิน  รับรางวัล  รับโบนัส)  เยาวชนสามารถตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทยจึงบิดเบี้ยว เหลื่อมล้ำและไร้ประสิทธิภาพ ทำไมระบบราชการไม่อภิบาลคนดี ทำไมคนชั่วถึงลอยนวลและอยู่อย่างมีเกียรติมีอำนาจในสังคมขณะที่คนจนที่ถูกข้อหาเดียวกันต้องเข้าตะราง  ทำไมรัฐบาลถึงกีดกันและต่อสู้กับคนจนที่ไร้ที่ทำกิน แต่ปล่อยให้คนรวยไม่กี่ครอบครัวมีที่ดินเป็นหมื่นเป็นแสนไร่

ผู้ประสบภัยพิบัติก็ไม่เห็นเช่นกัน

ผู้ประสบภัยพิบัติก็ไม่เห็นเช่นกัน ทำให้บางพื้นที่ยังคงต้องประสบภัยพิบัติซ้ำซากชั่วนาตาปี หรือจะเห็นการนำเสนอข่าวภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ แบบเดิมๆ อยู่ทุกเมื่อ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดปี ทั้งนี้เพราะ

1.ธุระไม่ใช่แล้วหวังว่าปัญหาเหล่านี้จะสามารถคลี่คลายไปได้เอง

2.ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก

3.พอใจกับผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ หรือได้รับอภิสิทธิ์เล็กๆ น้อยๆ

4.ไม่มีความสามารถยืนหยัดเพื่อสิทธิของตนเอง

—————————–xxxxxxxxxxx——————————

Proudly powered by WordPress