วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในอดีต ระบบการศึกษาของไทยจะมีการเรียนการสอนตามเนื้อหาที่กำหนด  และต่อมาจนถึงปัจจุบันก็มีการเรียนการสอนตามมาตรฐานที่กำหนด  แต่นั่นมันก็นานนับหลายๆ ทศวรรษแล้ว มาตรฐานที่กำหนดมันตามไม่ทันความก้าวหน้าในส่วนอื่นๆ ของโลก

การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมารฐาน ก็เป็นเพียงการเอาตัวชี้วัดมากางก็พยายามเข็ญให้ได้ตามตัวชี้วัด จะให้ได้คะแนน o-net  หรือ PISA ดีๆ ก็เอาข้อสอบเก่ามาให้หัดทำ  สอนแบบติวแบบเก็งข้อสอบ  เอามาตรฐานการเรียนการสอนส่วนกลางที่เห็นว่าดีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้มาตรฐานและตัวชี้วัด  ที่กำหนดขึ้นโดยแปลกแยกจากความก้าวหน้าของมนุษย์ซะอีก

ผลสัมฤทธิ์จากระบบการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แม้จะดีขึ้นเยอะจากการเรียนการสอนตามเนื้อหา แต่นั่นมันไม่เพียงพอที่จะสู้กับภัยพิบัติได้ ทั้งนี้เพราะ

1.ยังคงแปลกแยกไปจากระบบนิเวศรอบตัว

2.มาตรฐานและตัวชี้วัดล้าสมัย ผลสัมฤทธฺ์ที่ได้ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการแข่งขันทั้งต่อนานาประเทศและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศหรือนิเวศวิทยา

ดังนั้น หากจะให้ได้ลูกหลานในอนาคตที่อยู่กับความผันผวนอย่างรุนแรงของธรรมชาติได้อย่างดี จะต้องปรับปรุงการเรียนการสอนให้สามารถทัดเทียม สมดุลหรือเท่าทันกับระบบนิเวศ  เป็นการเรียนการสอนเพื่อความสมดุลทั้งของชีวิตและระบบนิเวศ

———————–///////////////———————-