แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อยๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น
แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณหนึ่งๆ อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่างๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูง เป็นต้น หรือของบริเวณอื่นๆ อาทิ สมองของมนุษย์ ได้อีกด้วย
องค์ประกอบของแผนที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่างๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. ชื่อแผนที่ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ระเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น
2. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่ แผ่นนั้น มักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดง ตำแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆ
3 .ทิศทาง มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ ก็ให้ใจว่าด้านบานของแผนที่คือทิศเหนือ
4. สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ
ประเภทแผนที่สามารถแบ่งออกตามลักษณะการแสดงผล ได้ดังนี้
– แผนที่กายภาพ เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก
– แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่เน้นการแสดงเขตการปกครองเป็นหลัก
– แผนที่เศรษฐกิจ แสดงเขตอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และทรัพยากรธรรมชาติ
– แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) แผนที่แสดงชั้นหิน
– แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map) แสดงที่ตั้งของสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ เช่นแผนที่แสดงสถานที่ท่องเที่ยว แผนที่แสดงที่ตั้งบริษัท-ห้าง-ร้าน
ความเสี่ยง คือ เหตุการณ์ การกระทำใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบ หรือสร้างความเสียหาย หรือความล้มเหลว หรือลดโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ทั้งในระดับองค์การ ระดับหน่วยงานและระดับบุคคลได้
แผนที่เสี่ยงภัย คือ แผนที่แสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง (Risk) ของภัยต่างๆ เช่น อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ภัยแล้ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ คือสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
Link : รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ใน 10 จังหวัดภาคเหนือ
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ใน จังหวัด แม่ฮ่องสอน
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ใน จังหวัด พะเยา
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ใน จังหวัด เชียงใหม่
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ใน จังหวัด เชียงราย
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ใน จังหวัด แพร่
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ใน จังหวัดน่าน
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ในจังหวัดลำปาง
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ในจังหวัดลำพูน
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ในจังหวัดตาก
รายงานและแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ใน จังหวัดอุตรดิตถ์
แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม (Landslide hazard map)
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันตก
ภาคตะวันออก
ภาคใต้